การจัดการธาตุอาหารและให้ปุ๋ยลำใย

การจัดการธาตุอาหารและให้ปุ๋ยลำใย

การให้ปุ๋ยกับต้นลำไยที่ผ่านมา ชาวสวนลำไยจะอาศัยจากประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นหลัก ในกรณีการจัดการธาตุอาหารที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อสมดุลของธาตุอาหารในดิน ซึ่งจะมีบัญหาต่อการจัดการธาตุอาหารและการผลิตลำไยในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินและธาตุอาหาร จะช่วยในการให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยลดลงและมีประสิทธิภาพสูง

ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช หมายถึงธาตุที่พืซต้องการเพื่อดำรงชีพ ธาตุเหล่านี้มีบทบาทในกระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) อย่างเฉพาะเจาะจงในพืช ไม่มีธาตุอื่นใดทำหน้าที่แทนได้อย่างสมบรณ์ เมื่อพืชขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่งจะชะงักการเจริญเติบโต มีอาการผิดปกติอันเป็นลักษณะเฉพาะ และอาจพื้นนตัวได้เมื่อได้รับปุ๋ยซึ่งมีธาตุนั้นจนเพียงพอโดยหน้าที่ของธาตุอาหารพืชนั้นสรุปไว้ในตารางที่ 2.1 ซึ่งการให้ธาตุอาหารแก่พืชจะมีการตอบสนองของพืชเป็นระดับต่างๆ ตามปริมาณธาตุอาหารที่ไต้รับดังนี้

ตารางที่ 2.1 หน้าที่สำคัญของธาตุอาหารพืช และอาการขาดแคลนธาตุอาหารของพืช

ธาตุ หน้าที่สำคัญ อาการขาด
ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีนคลอโรฟิลด์ และเอนไซม์ในพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดอ่านใบและกิ่งก้าน โตช้าใบล่างมีสีเหลืองชีดทั้งแผ่นใบต่อมากลายเป็นสีน้ำตางและร่วงหล่น
ฟอสฟอรัส ช่วยในการสงเคราะห์โปรตีนและสารอินทรีย์ที่สำคัญในพืช เป็นองค์ประกอบของสารที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการ เช่น การสงเคราะห์แสงและการหายใจ ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ต่อมาใบเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่นลำต้นแกร็นไม่ผลิตดอกออกผล
โพแทสเซียม ช่วยสงเคราะห์น้ำตาลแป้งและโปรตีนส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลจากใบไปยังผลช่วยให้ผลเจริญเติบโตเร็ว พืชแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคบางชนิด ใบล่างเป็นสีเหลืองและกลายเป็นสีน้ำตาลตามขอบใบ แล้วลุกลามเข้ามา ตามแผ่นใบรากเจริญเติบโตช้าลำต้นอ่อนแอ ผลไม่เติบโต
แคลเซียม เป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสรการงอกของเมล็ด และช่วยให้เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดี ใบที่เจริญใหม่จะหงิก ตายอดไม่เจริญ อาจจะมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้นผลแตกและคุณภาพไม่ดี
แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยสงเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ใบแก่จะเหลืองยกเว้นเส้นใบและใบร่วงหล่นเร็ว
กำมะถัน เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีนและวิตมิน ใบทั้งบนและล่างมีสีเหลืองซีดและต้นอ่อนแอ
โบรอน ช่วยในการออกดอกและผสมเกสรมีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมายังผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมนการใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์ ตายอดตายแล้วมีตาข้าง แต่ตาข้างจะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัวกิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็กหนาโค้งและเปราะ
ทองแดง ช่วยในการสงเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจการใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนืด ตายอดชงักการเจริญเติบโตและกลายเปนสีดำ ใบอ่อนเหลือง พืชทั้งต้นชะงักการเจริญเติบโต
คลอลีน มีบทบาทบางประการ เกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช พืชเหี่ยวง่ายใบซีดและบางส่วนแห้งตาย
เหล็ก ช่วยในการสงเราะห์คลอโรฟิลล์มีบทบาทสำคัญในการสงเคราะห์แสงและการหายใจ ใบอ่อนมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขียวสด

          ระดับการขาดธาตุอาหาร (Nutrient deficiency)หมายถึงการที่พืชได้รับ ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอยู่ในระดับที่ขาดแคลน ทำให้ผลผลิต ลดลงอย่างมาก พืชจะแสดงอาการขาดธาตุให้เห็นซึ่งลักษณะอาการขาดธาตุ นี้อาจจะแสดงให้เห็นชัดเจนมากน้อยแล้วแต่ปริมาณที่พืชได้รับ ส่วนระดับที่พืช ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ (Insufficient) หมายถึงพืชได้รับธาตุอาหารใบระดับที่ต่ำกว่าระดับความต้องการที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชผลทำให้พืช มีการเจริญเติบโตช้าลงให้ผลผลิตน้อยลง ในกรณีเช่นนี้พืชอาจจะไม่แสดงอาการ ขาดธาตุอาหารออกมาให้เห็น

          ระดับเป็นพิษ (Toxic) หมายถึงพืชได้รับธาตุอาหารในระดับที่สูงเกินความต้องการมาก จนมีผลทำให้พืชลดการเจริญเติบโต ในกรณีที่พืชได้รับธาตุอาหารในระดับสูงมาก พืชจะแสดงอาการผิดปกติทางสรีระวิทยาออกมา ให้เห็นหรืออาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้

ระดับมากเกินพอ (Excessive) หมายถึงพืชได้รับธาตุอาหารมากเกินความต้องการ จนมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดการขาดธาตุอาหารธาตุอื่น

ความต้องการธาตุอาหารและแนวทางการจัดการปุ๋ยลำใย

การให้ปุ๋ยลำไยโดยอาศัยค่าปริมาณธาตุอาหาร ที่ใช้ไปในระหว่างการแตกใบและที่สูญเสียไปกับผลผลิต (Crop removal) เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ยเพราะเป็นการให้ปุ๋ย

ตารางที่ 2.2 ปริมาณธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในแต่ละระยะการแตกช่อใบ

ขนาดทรงพุ่ม (เมตร ) ปริมาณธาตุอาหาร ( กรัม/ต้น )
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
​1-2 6-12 0.5-1.0 3.7-7.0
3-4 28-55 2.2-4.4 18.0-35.0
5-6 96.4-156 7.7-12.5 60.3-98.0
7 241.4 19.3 160.0

ตารางที่ 2.3 ปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต ที่น้ำหนักผลผลิต ที่น้ำหนักผลผลิตต่างๆ

จากตารางที่ 2.2 และ 2.3 คือปริมาณธาตุอาหารที่ลำไยใช้ไป ในระหว่างการแตกช่อใบและที่สูญเสียไปกับผลผลิต ซึ่งในการจัดการธาตุอาหารจะต้องคำนึงถึง ปริมาณที่ธาตุอาหารเกิดการสูญเสียหรือไม่เป็นประโยชน์อาทิเช่น การถูกตรึงในดิน การถูกชะล้าง เป็นต้น โดยจากผลการวิจัยพบว่าปริมาณให้ธาตุอาหารที่ 1.5 เท่าของปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต  เป็นปริมาณเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุด และเมื่อคำนวนเป็นปริมาณปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) 15-15-15 และ 0-0-50 หรือ0-0-50 แล้ว ปริมาณที่เหมาะสมแสดงดังตาราง ที่ 2.4 และ 2.5

ตารางที่ 2.4 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในแต่ละครั้งของการแตกใบ ( กรัมต่อต้น )

ทรงพุ่ม (เมตร )

ชนิดปุ๋ย
46-0-0 15-15-15 0-0-60 0-0-50
1 16 12 9 10
2 32 23 15 19
3 75 53 40 50
4 150 100 80 96
5 260 180 140 165
6 430 290 230 270
7 650 450 370 450

ตารางที่ 2.5 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้กับลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว ( กรัม /ต้น )

ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะเก็บเก็บเกี่ยวได้  ( กก./ต้น ) ชนิดปุ๋ย
46-0-0 15-15-15 0-0-60 0-0-50
50 450 480 440 500
100 900 960 880 1000
200 1800 1920 1800 2000

การให้ปุ๋ยลำใยระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตของลำใย

การให้ปปุ๋ยลำไยที่ระยะต่างๆอาจกำหนดแนวทางได้ดังตารางที่ 2.6  ซึ่งปริมาณปุ๋ยสูตรต่างๆที่ควรให้กับลำไยจะขี้นอย่กับ ขนาดทรงพุ่ม และปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในระยะเก็บเกี่ยว

ตารางที่ 2.6 แนวทางการให้ปุ๋ยลำไยในช่วงระยะต่างๆ

ระยะการเจริญเติบโตของลำไย
หลังตัดแต่งกิ่งถึงแตกใบครั้งที่ 1 แตกใบครั้งที่ 2 ติดผลผลิตถึงระยะเก็บเกี่ยว

การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยตามตารางที่ 2.2 หรือ 2.4 โดยขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มของลำไยและผลวิเคราะห์ดิน

การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยตามตารางที่ 2.2 หรือ 2.4 โดยขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มของลำไยและผลวิเคราะห์ดิน

การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยตามตารางที่ 2.3 หรือ 2.5 โดยขึ้นอยู่กับผลวิเคราะห์ดินและปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในระยะเก็บเกี่ยวทั้งนี้อาจแบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้ง

นอกจากนี้ก่อนการใส่ปุ๋ย ควรมีการวิเคราะห์ดินในสวนก่อน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดิน ตลอดจนทราบว่าดินเป็นกรดหรือไม่เพื่อที่จะได้มีการปรับปรุงดินก่อนใส่ปุย จะทำให้ลำไยใช้ปุยได้ดิยิ่งฃี้น

การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดที่เหมาะสมโดยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีมูลค่าสูงสุดและต้นทุนต่ำซึ่งวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

1.  ใช้ปุ๋ยให้ตรงกับการขาดธาตุอาหาร เช่นถ้าขาดธาตุไนโตรเจนก็ต้องให้ปุ๋ยไนโตรเจนและต้องให้จนถึงระดับที่เพียงพอ ถ้าขาดแคลนทั้ง3 ธาตุอาหารก็ให้จนครบและเพียงพอทั้ง 3 ธาตุอาหาร หากให้ไม่ครบก็จะให้ผลเหมือนกับไม่ให้อะไรเลยเพราะธาตุอาหารที่ขาดจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโต

2.  พยายามให้ดินร่วนซุยและมีความชื้นอย่างเหมาะสม เพราะโดยปกติรากพืชจะแผ่ขยายและชอนไชในดินร่วนซุยได้ดีมาก ทำให้มีโอกาสดูดน้ำและธาตุอาหารไปใช้อย่างเต็มที่ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปพืชก็จะดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยได้มาก ถ้าดินแน่นทึบต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้พอเพียง รวมทั้งควรให้ความชื้นอย่างเพียงพอ เพราะนอกจากจะทำให้ปุ๋ยละลายแล้ว พืชยังต้องการน้ำไปใช้ประโยชน์โดยตรงด้วย หากดินแห้งหรือแฉะเกินไปพืชก็จะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ดี

3.  ใส่ปุ๋ยให้ถูกที่ ถูกจังหวะและปริมาณที่เหมาะสม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นละลายในดิน ตรงบริเวณที่รากเจริญเติบโตและแผ่ขยายอย่างหนาแน่น แต่ความเข้มข้นของปุ๋ยในดินนั้นจะต้องไม่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อรากพืช

4.  ปุ๋ยอาจหายไปจากดินได้ โดยปุ๋ยที่ละลายน้ำง่ายเช่น ปุ๋ยไนโตรเจน ถูกน้ำชะลงไปในชั้นดินลึก ซึ่งรากพืชดูดไปใช้ไม่ได้ หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนแล้วต้องรดน้ำแต่พอควรเท่านั้น และควรป้องกันน้ำเซาะกร่อนดินแล้วดินถูกพัดพาไปตามน้ำ ปัญหาอย่างนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทมาก อีกกรณีหนึ่งคือ การสูญเสียปุ๋ยโดยระเหยไปจากดิน ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียในดินที่เป็นด่างจัด หรือการใส่ปุ๋ยยูเรียร่วมกับการใส่ปูนขาว ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว

5.  การให้ปุ๋ยที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้สมดุลของธาตุอาหารในดินเปลี่ยนแปลงได้ โดยเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรใส่ปุ๋ยบางธาตุโดยเฉพาะปุ๋ยธาตุอาหารหลักหรือปุ๋ยเคมีสูตรที่จำหน่ายทั่วไป เช่น สูตร15-15-15หรือ 8-24-24 ในปริมาณมากและติดต่อเป็นเวลานานโดยไม่มีการวิเคราะห์ดินว่ามีปริมาณธาตุอาหารมากน้อยเท่าใดจะทำให้ธาตุอาหารอื่นซึ่งพืชยังไม่น่าจะขาดกลับขาดแคลนได้ โดยเฉพาะฟอสฟอรัสซึ่งถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะมีผลทำให้พืชขาดจุลธาตุ เช่น สังกะสีและทองแดง เช่นในดินที่มีสังกะสีอยู่ไม่มากนัก แต่พืชยังไม่ขาดสังกะสีถ้าใส่ปุ๋ยฟอสเฟตค่อนข้างมากในดินประเภทนี้ จะทำให้พืชเริ่มขาดสังกะสีทันที ส่วนดินที่มีโพแทสเซียมปริมาณมากจะไปขัดขวางไม่ให้พืชดูดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้ เป็นต้น

6.  การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยโดยตัดแต่งกิ่งนอกจากเป็นการตัดกิ่งที่ทึบบังแสงแดด ซึ่งใบถูกบังแสง และมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงลดลง หากเปรียบรากของต้นกิ่งตอนซึ่งมีรากน้อยเสมือนปั๊มสูบน้ำที่มีแรงจำกัดส่วนกิ่งและยอดเหมือนท่อน้ำ หากมีท่อน้ำอยู่มากเกินไปจะทำให้ปั๊มที่มีแรงจำกัดไม่สามารถส่งน้ำไปปลายท่อได้มากพอ แต่ถ้าปิดหรือลดท่อแยกลงก็จะทำให้น้ำจากปั๊มส่งถึงปลายท่อได้แรงขึ้น ต้นลำไยก็เช่นกันถ้ารากที่มีอยู่จำกัดก็ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยงทุกยอดได้อย่างดีพอ ทำให้ต้นอาจแสดงอาการขาดธาตุอาหารได้    ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้างเพื่อให้รากสามารถดูดธาตุอาหารไปเลี้ยงส่วนยอดได้ทัน

การให้ปุ๋ยอินทรีย์และการจัดการเศษวัชพืชในสวนลำไย

อินทรียวัตถุในดินเป็นสิ่งที่สลายตัวได้ง่ายและรวดเร็ว ในประเทศเขตร้อนชื้นเช่นประเทศไทย ถ้าใช้แต่ปุ๋ยเคมีจะทำให้อินทรียวัตถุลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้ดินแน่นทึบ การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี จึงต้องรักษาระดับอินทรียวัตถุในดินไว้ ถ้าเป็นดินเหนียวและดินร่วนควรมีอินทรียวัตถุอย่างน้อย 2.5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นดินทรายควรมีอินทรียวัตถุอย่างน้อย 1.5 เปอร์เซ็นต์โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทมูลวัว มูลไก่ แกลบ การจัดการเศษปุ๋ยลำไยที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งโดยการทิ้งให้เน่าเปื่อยสลายตัวคลุมโคนต้น จัดว่าเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินที่ประหยัดที่สุด การกำจัดวัชพืชโดยการตัดแล้วใช้เศษวัชพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก็เป็นอีกทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน  นอกจากนี้การไม่เผาใบและกิ่งแขนงที่ถูกตัดแต่งออกก็จะทำให้มีธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน12 – 30 %  ของธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่ต้องการในรอบปีทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ นอกจากนี้จะได้อินทรียวัตถุบำรุงดิน โดยปกติใบลำไยที่ถูกคลุมดินอยู่จะเน่าสลายได้ 70 – 90 % ในเวลา 1 ปี ขณะที่ใบลำไยเน่าสลายจะปลดปล่อยธาตุอาหารทำให้รากลำไยลอยขึ้นมาที่ผิวดิน ทำให้การใส่สารคลอเรตเพื่อชักนำให้ออกดอกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : คัดลอกบางส่วนจากหนังสือคู่มือจัดการสวนลำไย

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา เขาสุเมรุ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิติต ศรีตนทิพย์ ผู้ซ่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา นายภฤศพงศ์ เพชรบุล ว่าที่ร.ต.รัชต์พงษ์ หอชัยรัตน์

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา