การผลิตลำไยนอกฤดู

การผลิตลำไยนอกฤดู

   ปัจจุบันปัญหาเรื่องการออกดอกไม่สม่ำเสมอของลำไยสามารถแก้ไขได้ โดยการใช้สารลำไยหรือโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium Chlorate) กระตุ้นหรือชักนำการออกดอกของลำไย โดยเฉพาะในแหล่งผลิตลำไยที่จังหวัด ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย พะเยาและจันทบุรี ซึ่งกรรมวิธีการใช้สารลำไยโดยการราดสารทางดิน(ละลายนํ้าแล้วราดสารลำไยภายในทรงพุ่มหรือหว่านสารราดลำไยภายในทรงพุ่มแล้วให้นํ้าตาม) หรือวิธีการพ่นสารทางใบลำไย วิธีใดวิธีหนี่งก็สามารกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ภายใน 21-35 วัน ซี่งลักษณะของสารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไย  สามารถละลายในนํ้าได้และละลายในสาร เช่น กลีเซอรอล และ แอลกอฮอร์ ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี อาจเป็นผงสีขาวหรือเม็ดสีขาว คุณสมบัติเป็นของแข็ง และเป็นตัวเติมออกซิเจนที่รุนแรงมาก สามารถติดไฟและระเบิดได้เมื่อนำไปบดรวมกับสารอนินทรีย์ซนิดต่างๆ เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส ซัลไฟด์ ปุ๋ยยูเรีย นํ้าตาลทราย เกลือ แอมโมเนียเกือบทุกซนิด และสารตัวเติมออกซิเจนชนิดอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ สารผสม ดังกล่าวข้างต้น

ข้อสำคัญของการใช้สารราดลำไยผลิตลำใยนอกฤดู

   1. ต้นลำไยต้องมีความสมบูรณ์

เกษตรกรผู้ที่จะทำการผลิตลำไยนอกฤดูต้องบำรุงต้นลำไย ให้มีความสมบูรณ์หลังจากการเก็บเกี่ยวต้องทำการตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นลำไยก่อน การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารลำไย โดยให้ต้นลำไยมีการแตกช่อใบไม่น้อยกว่า 2 ถึง 3 ครั้ง

   2. ต้องมีแหล่งนํ้า

มีแหล่งนํ้าสำหรับให้ต้นลำไยในช่วงหลังจากมีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต(สารราดลำไย) โดยเฉพาะในช่วงดอกเริ่มบานและติดผล ถ้าขาดนํ้าจะทำให้ดอกร่วงและผลร่วงทำให้การติดผลน้อย ถ้าในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงต้องมีการให้นํ้า และถ้ามีการใส่ปุ๋ยเคมีก็ต้องให้นํ้าตาม

3. ต้นลำไยจะต้องอยูในสภาพใบแก่

อายุของใบลำไยต้องอยู่ในระยะใบแก่จัดคือหลังจากแตกใบอ่อนประมาณ 45 ถึง 60 วัน จะเป็นระยะที่ได้ผลดีที่สุด ถ้าเป็นระยะใบอ่อนถ้าให้สารราดลำไยจะทำให้ออกดอกน้อยหรือถ้าพ่นทางใบจะทำให้ใบอ่อนไหม้และร่วง

รูป ระยะใบแก่พร้อมที่จะให้สารลำไย
รูป ระยะใบอ่อนไม่พร้อมที่จะให้สารลำไย

4. ก่อนการให้สารราดลำไยจะต้องงดการให้ปุ๋ย

ก่อนการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไย ไม่ว่าจะพ่นทางใบลำไยหรือให้ทางดิน จะต้องงดการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมีในช่วงก่อนการใส่สารลำไย ควรใส่ในช่วงที่ต้นลำไยมีการแทงช่อดอกแล้ว

5. สารลำไยที่ใช้จะต้องมีความบริสุทธ์สูง

จะต้องตรวจสอบสารราดลำไยหรือซื้อสารราดลำไยในแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะถ้าเป็นสารราดลำไยที่ผสมจะใช้โนอัตราที่แนะนำไม่ได้ หรือถ้าเป็นการพ่นสารลำไยทางใบจะทำให้เตรียมสารลำไยลำบาก เพราะจะทำให้ไม่ทราบว่าใช้สารอะไรผสม หรือผสมในอัตราเท่าไหร่

6. วิธีการให้สารลำไย

การให้สารลำไยทางดินและการพ่นสารทางใบลำไยใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ดอ พันธุ์แห้ว พันธุ์ใบดำพันธุ์ พวงทอง พันธุ์เบี้ยวเขียว พันธุ์สีชมพูและพันธุ์พื้นเมือง

การให้สารลำไยทางดิน

อัตราที่แนะนำอยู่ประมาณ 5-10 กรัมต่อตารางเมตรของทรงทุ่ม หรือ อาจใช้อัตราตามตารางที่ 4.1 เพื่อความง่ายในการเตรียมสารและการคำนวณ ปริมาณสารที่ต้องใช้กับต้นลำไย

รดน้ำบริเวณที่ราดสารลำไยหลังการใส่สารลำไยต้องรักษาความชุ่มชืน
รูป การให้สารราดลำไยหรือสารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน

ตารางที่ 4.1 ความกว้างของทรงพุ่มต่างๆและอัตราการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต(สารลำไย) ทางดินกับต้นลำไย (สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ไม่มีการผสมสารอื่น)

การราดสารลำไยในช่วงใกล้เคียงกับฤดูกาลปกติเช่นในเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ควรใช้ในอัตรา ส่วนช่วงนอกฤดูควรเพิ่มสารลำไยในอัตราสูงขึ้น

วิธีการราดสารลำไยทางดิน

โดยการหว่านสารราดลำไยภายในทรงพุ่มแล้วให้นํ้าตามหรืออาจ ทำเป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้สารราดลำไยในร่องแล้วให้นํ้าตามหรือใช้สารลำไยละลายนํ้าแล้วราดในทรงพุ่มก็ได้ และจะต้องมีการใสถุงมือและรองเท้าบู๊ตในการราดสารลำไย

การปฏิบัติในการพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ

  • ความเข้มข้นของสารที่ใช้คือ 1 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร หรือ 200 กรัม (2 ขีด) ต่อนํ้า 200 ลิตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 7 วันต้องเป็นสารลำไย(โพแทสเซียมคลอเรต)ที่ไม่มีการผสมสารอื่น และต้องไม่มีการผสมสารใดๆในการพ่น
  • ควรพ่นในตอนเช้าหรือช่วงอากาศไม่ร้อน ถ้าพ่นช่วงอากาศร้อน อาจทำให้เกิดอาการใบไหม้และถ้ามีฝนตก 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสาร ใหม่อีกครั้ง
รูป การพ่นสารลำไยหรือสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ
รูป อาการใบไหม้เนื่องจากใช้ปริมาณสารทางใบมากเกินไป

ควรพ่นสารลำไยในช่วงที่ลำไยมีใบแก่เท่านั้น เพราะหากพ่นสารลำไยในใบอ่อนลำไย อาจออกดอกไม่ดี คือช่อที่แตกออกมาจะมีการพัฒนาใบก่อนแล้วแตกดอกตาม อาจทำให้ช่อดอกสั้นและการพ่นสารลำไย(สารโพแทสเซียมคลอเรต)ควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุด เพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก

การพ่นสารลำไยควรมีการสวมชุดป้องกันให้มิดชิด และหลังจากพ่นสารแล้วควรมีการทำความสะอาดขุดสวมใส่ และทำความสะอาดร่างกาย

7. ช่วงฤดูกาลให้สารลำไย

ในการใช้สารราดลำไยทางดิน หากเป็นช่วงใกล้กับลำไยออกดอกในฤดู คือมีการราดสารในเดือนตุลาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ สามารถใช้สารในอัตราตํ่าสุดได้ เพราะต้นลำไยจะตอบสนองต่อสารราดลำไยได้ดีแต่ช่วงฤดูฝนพบว่า ลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกค่อนข้างตํ่า ในช่วงนี้มีฝนตกมากอาจทำให้เกิดการซะล้างสารราดลำไย และการลำเลียงสารลำไยจากดินเกิดขึ้นน้อย เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศมืดครึ้ม นอกจากนี้การให้ทางดินไม่ควรที่จะผสมนํ้าแล้วราดในช่วงฤดูฝน เพราะในดินมีความชื้นสูงอยู่แล้วจะเกิดอัตราการชะล้างสูง ควรหว่านสารราดลำไยแล้วให้นั้าตามก็พอ และในช่วงฤดูฝนก็ต้องใช้สารลำไยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หรือใช้ในอัตราสูงที่สุดของคำแนะนำ การออกดอกของลำไยในช่วงที่มีฝนตกติดกันหลายๆวัน พบว่าต้นลำไยมีการผลิช่อดอกช้ากว่าการให้สารลำไยในช่วงเวลาอื่น โดยออกดอกทางด้านทิศตะวันออกก่อน เนื่องจากช่วงเช้าได้รับแสงแดด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกบ่อยและการทำลำไยออกดอกในช่วงฤดูฝน หลังจากลำไยแทงช่อดอกควรมีการจัดการเรื่องแมลงศัตรูลำไยให้ดี

การดูแลต้นลำใยหลังจากมีการให้สารลำไย

1. ต้องมีการให้นํ้าอย่างสม่ำเสมออย่าให้ต้นลำไยขาดนํ้าโดยเฉพาะในช่วงดอกเริ่มบาน ช่วงติดผลและช่วงพัฒนาการของผล

2. ต้องดูแลเรื่องแมลงศัตรูลำไยในช่วงที่ลำใยออกดอก

 3. ควรมีการจัดการธาตุอาหารหลังจากต้นลำไยมีการออกดอก เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมี เพื่อบำรุงต้นลำไย

4. ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวต้องมีการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อปรับสภาพของต้นลำไยเพื่อเร่งการแตกใบอ่อน

ผลกระทบจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต

หลังจากมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารลำไยกระตุ้นการออกดอกของลำไย สามารถสรุปผลของการใช้สารลำไย ทั้งทางด้านผลกระทบต่อต้นลำไย ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบทางด้านราคาซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้

1. การออกดอกและติดผลมากเกินไป 

รูป การออกดอกและติดผลมากเกินไป

เนื่องจากเกษตรกรปล่อยให้ต้นลำไยมีจำนวนกิ่งมาก ทำให้ต้นลำไยมีการออกดอกมาก ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ การใช้สารลำไยครั้งแรกกับต้นลำไยที่ยังไม่เคยให้สารลำไยมาก่อน พบว่าต้นลำไยมีการออกดอกและติดผลมากเกินไป ทำให้ผลผลิตมีขนาดเล็กไม่ได้คุณภาพ แนวทางแก้ไขโดยการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จัดการดินและปุ๋ยอย่างเหมาะสม หรือการตัดแต่งช่อผล หรือการตัดแต่งกิ่งให้เหลือเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ก่อนการให้สารลำไยทางดินหรือสารพ่นทางใบลำไย

2. การออกดอกซํ้าซ้อนหลังการให้สารลำไยไม่ว่าจะเป็นสารราดลำไยทางดินหรือพ่นทางใบลำไย

รูป การออกดอกซํ้าซ้อนหลังการให้สารลำไย

เกิดจากเกษตรกรมีการให้สารลำไยปริมาณมาก โดยเฉพาะการให้สารราดลำไยทางดิน ส่วนมากจะเกิดกับต้นลำไยหรือกิ่งลำไยที่มีการออกดอก และติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ต้นลำไยจะมีการแทงช่อดอกซํ้า มีผลทำให้มีการติดผลซํ้าซ้อน ทำให้ยากในการปฏิบัติดูแลรักษา ทำให้ช่อดอกค่อนข้างสั้นและได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ

3. การให้สารลำไยแล้วต้นลำไยแทงช่อดอกช้า เกษตรกรควรงดการใส่ป๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมี ในช่วงก่อนการใช้สารลำไยควรใส่ในช่วงที่ต้นลำไยมีการแทงช่อดอกแล้ว และการให้สารลำไยใบช่วงฤดูฝนต้นลำไยมีการออกดอกน้อย จากการทดลองพบว่า การให้สารลำไย(สารโพแทสเซียมคลอเรต)กับต้นลำไยใบช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน มีการออกดอกได้ดีกว่าช่วงฤดูฝน ซึ่งลำไยมีการออกดอกค่อนช้างช้าเนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกบ่อยมาก ทำให้เกิดการชะล้างสารราดลำไยมาก และในฤดูฝน อากาศจะมืดมีเมฆ แสงแดดน้อย ทำให้ต้นลำไยออกดอกช้าหรือออกดอกน้อย และการผลิตลำไยในช่วงฤดูฝนมีปีญหาเรื่องโรคและแมลงระบาด ก็ฉีดสารป้องกันกำจัดลำบากเนื่องจาก ฝนตกบ่อยทำให้ชะล้างสารเคมีที่พ่น

4. การติดผลตํ่า มักจะเกิดกับการให้สารลำไยในช่วงก่อนฤดูกาล และดอกลำไยไปบานในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจเกิดจากในช่วงอากาศหนาวการงอกของละอองเกสรตํ่า และแมลงช่วยผสมเกสรอาจจะออกหาอาหารน้อยในช่วงอากาศเย็น

5. การให้สารลำไยซํ้า คือให้สารลำไยซํ้าต้นเดิมในปีการผลิตโดยไม่ให้ลำไยแตกช่อใบ หรือให้ต้นลำไยแตกช่อใบ 1 ชุด พบว่าต้นลำไยสามารถออกดอกได้ แต่ถ้าต้นที่ไม่ค่อยสมบูรณ์จะมีผลทำให้ช่อดอกสั้นและช่อดอกไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือการให้สารลำไยในช่วงฤดูฝน ต้นลำไยกำลังแทงช่อใบ ถ้ามีการให้สารลำไยต้นลำไยจะมีการแทงใบอ่อนทันที บางครั้งก็ออกดอกตาม หรือบางครั้งเป็นช่อดอกน้อยมาก ทำให้เกษตรกรมีการให้สารลำไยซํ้าอีก อาจจะทำให้ต้นลำไยโทรมได้ เพราะรากลำไยถูกทำลายมาก

6. การให้สารอาจจะส่งผลต่อต้นลำไยและสภาพแวดล้อม การให้สารราดลำไยทางดิน มีผลทำให้รากถูกทำลายในจุดที่ให้สารราดลำไย เพราะสารราดลำไยมีความเข้มข้นสูง ทำให้รากที่รับสารราดลำไยตาย และส่งผลต่อจุลินทรีย์ในดินในจุดที่ให้สารราดลำไยบางส่วนตาย โดยการทดลองในกระถางแล้วตรวจสอบราก หลังให้สารโพแทสเซียมคลอเรต(สารลำไย)และโซเดียมไอโปคลอไรท์ทางดิน พบว่าการให้สารทั้ง2ชนิดมีผลทำให้ปลายรากถูกทำลายประมาณ10ถึง15เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมนั้น มีการศึกษาผลตกค้างโดยสมชายและคณะ, (2544) พบว่าสารโซเดียมคลอเรตมีการสลายตัวในดินช้ากว่า สารโพแทเซียมคลอเรต และยังพบอีกว่าสารประกอบคลอเรตมีการสลายตัวได้เร็วในดิน ที่มีอินทรีย์วัตถุฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียมสูง หรือดินที่มีความอุดมสมบรณ์สูง และจะสลายตัวได้ช้าในดินทรายและดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า และหลังมีการใช้สารราดลำไยไปแล้วสามารถเร่งการสลายตัวของโพแทสเซียมคลอเรตได้ โดยการจัดการอินทรีย์วัตถุ การจัดการนํ้าเป็นด้น

ความปลอดภัยในการใช้สารกลุ่มคลอเรต (กรมวิชาการเกษตร 2542)

1.การเก็บรักษา

  1. ภาชนะบรรจุต้องมิดชิด
  2. เก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ห่างจากอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์และเก็บให้พ้นจากมือเด็กและต้องไม่มีการผสมสารใดๆทั้งสิ้น เพราะถ้าได้รับความร้อนจะทำให้ลุกไหม้และระเบิดได้

2.ข้อปฏิบัติในการใช้กลุ่มคลอเรต

  1. การใช้สารลำไยต้องมีการสวมชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์
  2. สวมรองเท้าบู๊ตที่ทำด้วยใยสังเคราะห์
  3. สวมแว่นตาชนิดที่กระชับลูกตา
  4. สวมถุงมือยางและหมวก
  5. ห้ามสูบบุหรี่ขณะที่ราดสารลำไย และต้องระวังอย่าให้สารสัมผัสกับผิวหนัง หรืออวัยวะต่างๆโดยตรง
  6. หลังราดสารลำไยหรือพ่นสารทางใบลำไย ต้องทำความสะอาดร่างกายด้วยนํ้า
  7. ระวังสัตว์เลี้ยงอย่าให้มากินหญ้าในบริเวณที่ให้สารราดลำไย

ข้อปฏิบัติเมื่อได้รับสารพิษในกลุ่ม คลอเรต

  1. หากมีการสัมผัสผิวหนัง หรือเข้าตา ให้ล้างด้วยนํ้าสะอาดภายใน 15 นาที
  2. หากสูดหายใจเอาก๊าซพิษที่เกิดขึ้นจาการสลายตัวของสารลำไยนี้เข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ออกซิเจนแล้วนำส่ง แพทย์ทันที
  3. หากกลืนสารเข้าไปรีบทำให้อาเจียนทันทีและดื่มนํ้ามากๆ ถ้ามีอาการรุ่นแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
  4. หากผ้ป่วยหมดสติให้นำส่งแพทย์ ห้ามปฐมพยาบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก

การใช้สารเคมีหรือสารลำไยกระตุ้นการออกดอกของลำไย ผู้ใช้จะต้องมีความระมัดระวัง และให้คิดเสมอว่าสารเคมีที่ใช้ มีอันตราย จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้อง และทำอย่างไรกับการใช้สารเคมีให้มีความปลอดภัยสูงที่สุด โดยต้องมีการป้องกันและไม่สัมผัสสารลำไยโดยตรง ารผลิตลำไยในปัจจุบันผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึง ารลดต้นทุนการผลิตซึ่งสามารถทำได้โ ดยการลดการใช้สารเคมีหรือใช้ให้เหมาะสม และผลผลิตต้องมีคุณภาพ”และการผลิตลำไยในปัจจุบันผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ผลิตเอง ต่อผู้บริโภค ต่อต้นลำไยและต่อสภาพแวดล้อม จะทำให้การผลิตลำไยมีความยั่งยืน

ที่มา : คัดลอกบางส่วนจากหนังสือคู่มือจัดการสวนลำไย

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา เขาสุเมรุ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิติต ศรีตนทิพย์ ผู้ซ่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา นายภฤศพงศ์ เพชรบุล ว่าที่ร.ต.รัชต์พงษ์ หอชัยรัตน์

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา