การดูแลรักษาลำไยช่วงออกดอก

Add Friend
ต้องการติดต่อเรากดปุ่ม Add Friends ข้างบนนี้เลยครับ Line ID. : tewinonline หรือโทรมาที่เบอร์นี้เลยครับ : 089-5599-056 เทวินการเกษตร
ซื่อสัตย์ ตรงเวลา รักษาคำพูด ขายสินค้าคุณภาพ

ดอกลำไยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
ดอกลำไยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

การดูและรักษาลำไยช่วงออกดอก

ลำไยจัดอยู่ในไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทางภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เกษตรกรปลูกลำไยเป็นอาชีพมาช้านานหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ปู่ ย่า ตายาย สามารถเลี้ยงครอบครัว ส่งลูกหลานเรียนจบทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วมากมาย สั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์สู่รุ่นลูก รุ่นหลาน จนนับได้ว่าเป็นพืชวัฒนธรรมสำหรับภาคเหนือ บางปีผลผลิตมากราคาก็ถูก บางปีผลผลิตน้อยเกษตรกรก็ขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ แต่ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นจำนวนมาก มีการปลูกลำไยเกือบจะทุกจังหวัดของประเทศ   โดยเฉพาะภาคตะวันออกในจังหวัด จันทบุรี ที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว   เป็นไม้ผลอันดับต้นๆที่ทำรายได้ให้เกษตรกรครอบครัวละเป็นล้านบาทเลยทีเดียว   แต่เขาผลิตลำไยนอกฤดูโดยใช้องค์ความรู้ มีการรวมกลุ่มและใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยอย่างมืออาชีพทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ  สำหรับภาคเหนือของเราในเชียงใหม่และ ลำพูนส่วนมากเป็นลำไยในฤดู เริ่มออกดอกในเดือนมกราคม  และเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม  มีส่วนน้อยที่ผลิตลำไยนอกฤดู  ปีนี้คาดว่าผลผลิตลำไยในฤดูจะน้อย  เนื่องจากภาวะอากาศแปรปรวนเกษตรกรจะต้องเอาใจใส่ดูแลลำไยของท่านตั้งแต่ออกดอก จนการเก็บเกี่ยวเป็นอย่างดี แล้วท่านจะได้เงิน

แมลงศัตรูสำคัญช่วงลำไยออกดอกถึงติดผลขนาดเล็ก

1.  หนอนกินดอกลำไย
หนอนกินดอกมีพืชอาหารหลายชนิดนอกจากดอกลำไยแล้วยังกัดกินดอกลิ้นจี่ เงาะ และมะม่วง  หนอนมีสีน้ำตาลอ่อน หัวสีดำ เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวยาวประมาณ 2  เซนติเมตร หนอนสร้างเส้นใยดึงช่อดอกมาติดกัน แล้วกัดกินอยู่ภายในก่อนเข้าดักแด้หนอนถักเส้นใยยึดดอกแห้งปนกับขี้หนอนเป็นก้อนกลมห่อหุ้ม

 

ผีเสื้อของหนอนกินดอกลำไย  ขณะเกาะอยู่กับที่ปีกหลุบลง ปีกมีสีน้ำตาลอ่อนปนม่วงอ่อน มีเส้นสีน้ำตาลพาดจากกลางปีกไปถึงปลายปีก  ผีเสื้อเพศเมียวางไข่ตามช่อดอก เมื่อหนอนฟักจากไข่เริ่มกัดกินช่อดอกโดยใช้เศษชิ้นส่วนของกลีบดอกถักเป็นรังอยู่ตามช่อดอก เพื่อเป็นที่อาศัยหลบซ่อนอยู่ภายใน

ผีเสื้อของหนอนกินดอกลำไย  ขณะเกาะอยู่กับที่ปีกหลุบลง ปีกมีสีน้ำตาลอ่อนปนม่วงอ่อน มีเส้นสีน้ำตาลพาดจากกลางปีกไปถึงปลายปีก  ผีเสื้อเพศเมียวางไข่ตามช่อดอก เมื่อหนอนฟักจากไข่เริ่มกัดกินช่อดอกโดยใช้เศษชิ้นส่วนของกลีบดอกถักเป็นรังอยู่ตามช่อดอก เพื่อเป็นที่อาศัยหลบซ่อนอยู่ภายใน

ศัตรูธรรมชาติ ในสภาพธรรมชาติมีแมลงศัตรูคอยทำลายหนอนกินดอกหลายชนิด

– มดแดง
– แตนเบียน
– แมลงวันก้นขน

การป้องกันกำจัด
ถ้าพบหนอนเข้าทำลายดอกลำไยหนาแน่น พ่นสารเคมี เมทามิโดฟอส (ทามารอน 60% sc) อัตรา 30  มิลลิลิตรต่อน้ำ 20  ลิตร ควรหลีกเลี่ยงการพ่นตอนดอกบาน

2. ด้วงกินดอกลำไย

ด้วงหรือแมลงปีกแข็งกินดอกลำไยช่วงลำไยออกดอก พบด้วงปีกแข็งหลายชนิดกัดกินดอก และผลอ่อนทำให้ผลผลิตเสียหาย

แมลงค่อมทองกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย
แมลงค่อมทองกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย

การป้องกันกำจัด

ถ้ามีการระบาดฉีดพ่นด้วยคาร์บาริล (เซฟวิน 85% wp) อัตรา 45-60 กรัมต่อน้ำ 20  ลิตร เฉพาะจุดที่พบแมลงเข้าทำลายหนาแน่น

แมลงค่อมทองในสวนลำไย
แมลงค่อมทองในสวนลำไย

3. เพลี้ยหอยหลังเต่า

ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณช่อใบอ่อน ช่อดอก และผลลำไย โดยพบ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ  ขณะดูดกินจะขับถ่ายของเหลวคล้ายน้ำเชื่อม ทำให้เป็นแหล่งอาหารของราดำ และมด

การป้องกันกำจัด

1. ตัดแต่งกิ่งหรือส่วนที่ถูกเพลี้ยหอยทำลายไปเผาหรือฝัง

2. ใช้สารเคมี ควรใช้ตั้งแต่ระยะที่ตัวอ่อนเริ่มฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ จนถึงระยะตัวอ่อนที่ 2 และ 3 เนื่องจากระยะเหล่านี้เป็นระยะที่อ่อนแอต่อสารเคมีมากที่สุด

3. ในกรณีที่พบเพลี้ยหอยเข้าทำลายในระดับไม่รุนแรงก็ควรที่จะเลือกใช้ปิโตรเลียมออยล์ ไวท์ออยล์ และสารสกัดจากพืช เช่น สมุนไพรลูกซัก และสะเดาบด ตามอัตราที่แนะนำ ก็สามารถควบคุมประชากรของเพลี้ยหอยได้ในระดับหนึ่ง

4. สารเคมีที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยชนิดนี้ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร คาร์บาริล อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และไดเมทโธเอท อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การพ่นสารเคมี ควรพ่นซ้ำอีก 1-2 ครั้ง เมื่อยังตรวจพบระยะตัวอ่อนของเพลี้ยหอย

4. มวนลำไย

มวนลำไยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน
โรคและแมลงลำไย-มวนลำไย

มวนลำไยหรือแมงแกง ทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ก้านช่อดอกทำให้เหี่ยวแห้งและดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อนทำให้ผลอ่อนแห้งและร่วง

การป้องกันกำจัด

ช่วงที่เป็นตัวอ่อนป้องกันกำจัดได้ผลดีกว่าตัวเต็มวัย ใช้สารเคมีแลมป์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5% EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฟนวาลีเลต (ซูมิไซดิน 20% EC) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล     (เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

-สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคและแมลงเพิ่มเติม ได้ ที่นี่….คลิกกด

-สนใจสารราดลำไยหรือสูตรการราดสารลำไยและสูตรการพ่นสารลำไยทางใบ กรุณาติดต่อ เทวินการเกษตร 089-5599056 บริการส่งทั่วประเทศ หรือ คลิกกดที่นี่…..

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์จิรนันท์  เสนานาญ   นักวิชาการเกษตร      ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา