การใช้สารโซเดียมคลอเรตเพื่อให้ลำไยออกดอก

โซเดียมคลอเรต
โซเดียมคลอเรต

ในอดีต ที่ผ่านไปการผลิตลำไยประสบกับปัญหาการไม่ออกและติดผล โดยเชื่อว่าธรรมชาติแล้วลำไยเป็นผลไม้ประเภทออกดอกไม่แน่นอน ออกดอกติดผลปีเว้นปี (Alternatebearing) เพราะลำไยต้องการความหนาวเย็นเพื่อการออกดอก ซึ่งตามปกติลำไยออกดอกในฤดูหนาวเท่านั้น ในปี 2540 ลำไยเชียงใหม่-ลำพูน ออกดอกติดผลมาก ต่อมาปี 2541 ออกดอกติดผลน้อย ไม่ถึง 10% เกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีความวิตกในเรื่องนี้มาก นักวิชาการเกษตรผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาลำไยก็พยายามหาวิธีการต่างๆ เป็นต้นว่า การควั่นกิ่ง การตัดแต่งกิ่ง ตลอดจนใช้สารเคมี เพื่อให้ลำไยออกดอกทั้งตามฤดูและนอกฤดู และเกษตรกรบางรายได้ใช้สารเคมีบังคับลำไยออกดอกนอกฤดูได้ และยังไม่เป็นที่เปิดเผย ต่อมานักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย ตั้งแต่ปี 2540 ถึง ปลายปี 2541 พบว่าการใช้สารโซเดียมคลอเรต มีผลต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยจริง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่พบว่ามีเอกชนร่วมกับพ่อค้าชาวไต้หวัน ได้ทดลองนำสารเคมีเป็นผงสีขาวปนเทา มาละลายน้ำแล้วราดรอบๆ ทรงพุ่มลำไยที่จังหวัดลำพูนปรากฎว่าหลังจากนั้นนับ 20 -25 วัน ลำไยก็แทงช่อดอกได้ ต่อมาได้นำสารที่ใช้ราดต้นลำไยไปวิเคราะห์ก็พบว่ามีส่วนประกอบของโพแทสเซียมคลอเรต (KCLo3) อยู่ในปริมาณสูงและช่วงเวลาก่อนนี้มีผู้ทำพลุที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังเกตุเห็นว่าต้นลำไยที่รดโดยน้ำล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทำพลุบริเวณโคนต้นทำให้ลำไยต้นนั้นออกดอก ทั้งที่ไม่ใช้ฤดูกาลต่อมามีนักวิจัยสมัครเล่นนำดินปืนที่ประกอบด้วยโพแทสเซี่ยมคลเรตมาทดลองกับลำไยบ้างก็ปรากฎว่า ลำไยแทงช่อดอกได้ จึงทำให้เกิดการแตกตื่นในหมู่เกษตรกรชาวสวนปลูกลำไย ทำให้ราคมโพแทสเซียมคลอเรตที่มีจำหน่ายเพื่อนำไยใช้ราดต้นลำไยมีราคาสูงขึ้นจากเดิมราคมกิโลกรัมละ 150 บาท ขึ้นเป็นราคากิโลกรัมละ 300 -500 บาท และหาซื้อได้ยาก เพื่อให้การใช้สารในการผลิตลำไยนอกฤดูไดถูกต้อง กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสาร เรื่องการผลิตลำไยนอกฤดูขึ้น เพื่อให้ผู้คนได้ทราบถึงคุณสมบัติของสารทั้ง 2 ชนิด ความเป็นพิษ ข้อดี ข้อเสีย วิธีการใช้ การเก็บรักษา และข้อควรระวัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องกับสารเคมี ขณะนี้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน มีการตื่นตัวและสนใจกับการใช้สารเคมีเพื่อทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูเป็นจำนวนมาก
งานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรได้ทดลองอิทธิพลของโซเดียมคลอเรตและสารเคมีบางชนิดที่มีต่อการออกดอกและติดผลของลำไยพันธุ์ดอ ดำเนินการที่สวนเกษตรกรอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย โดยการใช้สารเคมีในอัตราความเข้มข้นต่างๆ กัน คือ 0, 30 , 45 , 60 และ 75 กรัม/ 1 เมตร ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มละลายน้ำ 80 ลิตร ราดรอบๆ ทรงพุ่มและรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน ลำไยจะเริ่มออกดอกและติดผลดีสามารถเก็บผลผลิตได้หลังจากราดสาร 7 เดือน ส่วนวิธีการที่ไม่ใช้สารพบว่าลำไยไม่ออกดอกเลย นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรกรเขตที่1 จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามผลการใช้โพแทสเซี่ยมคลอเรตของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในภาคเหนือ ดังมีรายงานจากเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “ปัญหาลำไยนอกฤดูกับโปแทสเซี่ยมคลอเรต” วันที่ 12 มีนาคม 2542 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐ คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทดลองใช้สารโพแทสเซี่ยมคลอเรต ดังนี้
1. การใช้ปริมาณสารที่เหมาะสมต่อการออกดอกของลำไยโดยใช้อัตรา 0 , 10, 20, และ 40 กรัม/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้พบว่าอัตราความเข้มข้นยกเว้นกรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร (0) ทำให้ลำไยออกดอกภายใน 20 -30 วัน
2. การใช้สารเคมีต่อช่วงการเจริญเติบโต พบว่าการใช้สารกับลำไยที่มีใบแก่ จะออกดอกเร็วกว่าต้นที่มีใบอ่อน ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้เป็นใบที่เจริญเต็มที่ก่อนจึงจะออกดอก
3. การทดลองเปรียบเทียบวิธีการใช้สาร โดยการผสมน้ำราดบริเวณราดบริเวณทรงพุ่มหว่านทรงพุ่ม ฉีดเข้าลำต้นและพ่นทางใบ พบว่าทุกกรรมวิธีทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่การฉีดเข้าลำต้นถ้าใช้อัตราที่สูงจะทำให้ใบเหลืองและร่วงภายใน 7 วัน
4. การทดลองช่วงเวลาการใช้สาร พบว่าใช้สารเดือน ตุลาคม – ปลายพฤศจิกายน ลำไยออกดอกภายใน 20 -30 วัน
5. การทดสอบเกี่ยวกับพันธุ์ พบว่าพันธุ์ดอ สีชมพู แลใบดำ ออกดอกได้ดี แต่พันธุ์แห้วจะออกดอกช้ากว่า

คุณสมบัติของโซเดียมคลอเรต

 ชื่อผลิตภันฑ์  โซเดียมคลอเรต (Sodium Chlorate)
 ชื่อสามัญและชื่อพ้อง  คลอริ แอซิด (Chloric Acid)
เกลือโซเดียม (Sodium Salt)
โซดาคลอเรต (Chlorate of Soda)
 ชื่อทางเคมี  โซเดียมคลอเรต
 การจัดกลุ่มทางเคมี  Lnorganic salt Oxidezer
 สูตรทางเคมี  Naclo3
 ลักษณะ, สี ,กลิ่น ,และรส  เป็นผลึกแข็งสีขาวหรือเหลืองซีด ไม่มีกลิ่น มีรสขม
 การละลายน้ำ  ละลายน้ำได้ดี คือ
ที่ 0๐ ละลายได้ 79 กรัม/น้ำ 100 ซีซี
ที่ 20๐ ละลายได้ 101 กรัม/น้ำ 100 ซีซี
ที่ 100 ๐ ละลายได้ 273 กรัม/น้ำ 100 ซีซี
 ค่า เมื่อละลายน้ำ  6.8 – 7.2 (เป็นกลาง)
 การละลายในสารละลายอื่น  แอลกอฮอล์ 90 % กลีเซอรอล
 จุดเดือด  249 – 299๐ C
 จุดหลอมเหลว  248๐ C
 น้ำหนักโมเลกุล  106.44
 ค่าความถ่วงจำเพาะ  2.49
 ข้อจำกัด  เป็นสารที่ติดไฟได้ง่าย
 ความเป็นพิษ  หนู 1,200 – 7,000 มก./กก.
กระต่าย 7,000 มก./กก.
สุนัข 700 มก./กก
คน 15-30 มก./กก.
 โซเดียมคลอเรต  ไม่มีรายงานว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
โรงงานผลิตโซเดียมคลอเรต
โรงงานผลิตโซเดียมคลอเรต

 

ข้อควรระวัง

อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา
ลักษณะการใช้งาน
ผสมน้ำราดลงดินบริเวณชายพุ่ม ซึ่งจะอยู่ในรูปของโซเดียมคลอเรตบริสุทธิ์

การตอบสนองทางดิน

  • – ถูกชะล้างในดินได้
    – อาจสะสมอยู่ในดินในระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการใช้ วิธี การใช้ ชนิดของดิน อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝน

ข้อควรระวัง

  • – ห้ามสูบบุหรี่ ขณะที่ราดสาร
    – ต้องระวังอย่าให้สารโซเดียมคลอเรต สัมผัสอวัยวะต่างๆ โดยตรง
    – หลังราดสารต้องทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำทุกครั้ง

การใช้สารโซเดียมคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก

1. เลือกต้นลำไยที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ คือระยะที่ใบต้องเป็นใบที่แก่จัด อายุของต้นไม่ควรต่ำกว่า 5 ปี โดยต้นลำไยที่จะราดสารจะต้องได้รับการตัดแต่งกิ่งทันทีหลักจากเก็บเกี่ยวผลแล้ว โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในแนวตั้งออกเหลือโคนกิ่งไว้ ให้มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร ส่วนกิ่งในแนวราบตัดแต่งปลายกิ่งหักหรือกิ่งที่บอบช้ำจากการเก็บเกี่ยว กิ่งที่อ่อนแอ กิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลายออกไป บำรุงรักษาโดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี และให้น้ำเพื่อให้ต้นลำไยสมบูรณ์เต็มที่
2. กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นลำไยให้สะอาด รวมทั้งเก็บกวาดใบแห้งและเศษวัชพืชออกไปจากบริเวณโคนลำไย เพื่อให้สารซึ่มลงโคนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การเตรียมสารละลายโซเดียมคลอเรต ใช้สารโซเดียมคลอเรต 30 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร (อาจผสมกับบอแรกซ์ เพื่อยับยั้งการติดไฟ) ผสมกับน้ำ 80 ลิตร คนให้ทั่ว ควรจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับสารโซเดียมคลอเรตดังนี้
3.1 ใส่ชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ประเภท ไวบิล (Vinyl) นีโอพรีน (Neoprene) หรือ พีวีซี (PVC)
3.2 ใส่รองเท้าบู๊ทที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวบิลหรือนีโอพรีน
3.3 ส่วมแว่นตาชนิดกระชับกับลูกตา
3.4 สวมถุงมือยางและหมอก
4. สารโซเดียมคลอเรต เป็นสารที่ติดไฟได้ง่าย ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บไว้ในห้องเก็บที่เย็น แห้ง เป็นบริเวณที่ทนไฟ และเก็บแยกจากกรดและสารอินทรีย์
5. ควรราดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินในบริเวณชายพุ่มเป็นแนววงแหวน กว้างประมาณ 50 ซม. เนื่องจากบริเวณชายพุ่มเป็นที่ลำไยมีรากฝอยที่กำลังเจริญเติบโต จึงสามารถดูดซึมสารละลายโซเดียมคลอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว
6. หลังราดสารแล้ว ในช่วง 10 วันแรก ต้องรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอเรตเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบรากของลำไยได้ดีและเร็วขึ้น ลดการเกิดพิษภัยกับต้นลำไยและการสะสมในดิน การเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น จะช่วยเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินได้เร็วขึ้น การใส่สารปรับปรุงดินประเภท กรดฮิวมิค ถือเป็นวิธีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินได้เร็วที่สุด
7. หลักจากราดสารประมาณ 15 วัน ลำไยจะเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอเพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น
8. สวนลำไยที่ราดสารต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อการให้น้ำแก่ลำไยหลักการราดสาร และตลอดฤดูกาลติดผลของลำไย โดยเฉพาะการบังคับลำไยออกนอกฤดูในช่วงที่ลำไยติดผล จะต้องให้น้ำแก่ลำไยอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
9. ต้นลำไยที่บังคับให้ออกดอกโดยการราดสารละลายโซเดียมคลอเรทในปีที่ 1 แล้ว ในปีต่อไปควรเว้นเพื่อบำรุงต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ให้ต้นทรุดโทรม ดังนั้นควรแบ่งลำไยออกเป็น 2 แปลง และทำสลับปีเว้นปี
10. ควรใช้สารโซเดียมคลอเรตตามกำหนด หากใช้มากไปจะทำให้ต้นลำไยเสื่อมโทรมเร็วขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้สารโซเดียมคลอเรต

1. ขณะทำงานควรปฏิบัติดังนี้
1.1 สวมใส่ชุดป้องกันทำด้วยใยสังเคราะห์ไวบิล (Vinyl) นีโอพรีน (Neoperne) หรือ พีวีซี (PVC)
1.2 สวมรองเท้าบู๊ทที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวบิล หรือนีโอพรีน
1.3 สวมแว่นตาชนิดกระชับลูกตา
1.4 สวมถุงมือยางและสวมหมวก
2. โซเดียมคลอเรตเป็นวัตถุอันตราย ติดไฟง่าย ต้องเก็บให้ห่างจากประกายไฟและอาจเกิดระเบิดได้เมื่อเก็บไว้ในที่ที่มีความร้อนสูง กรดเข้มข้น หรือผสมกับสารอินทรีย์บางชนิด เช่น ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส ซัลไฟด์ และอื่นๆ
3. ห้ามสูบบุหรี่ขณะราดสารละลายโซเดียมคลอเรต และต้องระวังอย่างให้สารสัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่างๆ โดยตรง
4. หลังราดสารแล้วต้องทำความสะอาดร่างกายด้ายน้ำสะอาดทุกครั้ง
5. ระวังสัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย อย่าให้กินหญ้าบริเวณที่ใช้สาร เพราะดินจะรสเค็ม ขม เป็นที่ชอบของสัตว์ดังกล่าว หากสัตว์กินเข้าไป อาจทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
6. การใช้สารโซเดียมคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในวิธีการใช้อย่างถูกต้อง
ผลกระทบของโซเดียมคลอเรตต่อสภาพแวดล้อม
ขณะที่ดำเนินการศึกษานี้ ยังไม่พบผลกระทบของโซเดียมคลอเรตต่อสภาพแวดล้อม เช่น การสะสมในรูปเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดินซึ่งการใช้ในอัตราและปริมาณตามคำแนะนำ จะใช้ในอัตราและปริมาณที่น้อยมาก และแนะนำให้ใช้สารปีเว้นปี จึงอาจไม่มีผลตกค้างในดิน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าโซเดียมคลอเรตไม่มีผลกระทบต่อรากพืชแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรจะได้ศึกษาข้อมูลการใช้สารโซเดียมคลอเรตที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม และจะนำมาตีพิมพ์แผยแพร่ต่อไป

ข้อดีและข้อเสียของโซเดียมคลอเรต

ข้อดี
1. โซเดียมคลอเรตสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ภายใน 15 วัน หลังการราดสาร (ที่จังหวัดจันทบุรี) ส่วนที่จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2541 ใช้เวลาประมาณ 25 วัน หลักการราดสารจึงออกดอก
2. โซเดียมคลอเรตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 กรมวิชาการเกษตรจะขอเปลี่ยนเป็นชนิดที่ 3 เพื่อให้สะดวกต่อการนำเข้าและการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
3. ถึงแม้โซเดียมคลอเรตเป็นวัตถุไวไฟ แต่ถ้าผสมบอแรกซ์ก่อนนำไปใช้ จะ ช่วยลดความไวไฟของสารลงได้
ข้อเสีย

1. โซเดียมคลอเรตเป็นวัตถุไวไฟ
2. โซเดียมคลอเรตเป็นพิษกับสัตว์บางชนิดที่ชอบกินเกลือ เช่น วัว
3. โซเดียมคลอเรตเป็นพิษต่อมนุษย์ คือการเกิดการะคายเคืองต่อผิวหนังและตาเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ไต และอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ นอกจากนี้หากได้รับสารปริมาณ 15-30 กรัม จะทำให้เสียชีวิต
4. โซเดียมคลอเรตอาจมีผลตกค้างในดินนาน 6 เดือน – 5 ปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตรที่ใช้ ชนิดของดิน ความสมบูรณ์ อินทรีย์วัตถุในดิน ความชื้นและสภาพภูมิอากาศ แต่ความเป็นพิษต่อดินจะลดลง ถ้ามีปริมาณไนเตรต ในดินสูงสภาพดินเป็นด่างและอุณหภูมิของดินสูง

วิธีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก

1. การเตรียมต้นก่อนราดสาร โดยทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม ขจัด อิ วัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก แต่ไม่จำเป็นต้องสับหรือพรวนดิน ถ้าดินแห้งเกินไป ควรจะรดน้ำให้ชุ่มก่อนการราดสาร 1 วัน
2. อัตราของสารโพแทสเซียมคลอเรต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร อายุลำไยหรือขนาดทรงพุ่มและชนิดของเนื้อดิน
ในกรณีที่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ควรใช้อัตราของสารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสาร ไม่ต่ำกว่า95% ดังนี้
ลำไยขนาดเล็ก อายุ 5 – 7 ปี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 100 กรัมต่อต้น
ลำไยขนาดเล็ก อายุ 5 – 10 ปี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 150 กรัมต่อต้น
ลำไยขนาดเล็ก อายุ 10 ปี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 200 กรัมต่อต้น
ในกรณีนี้เป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ควรเพิ่มสารอีก 50 กรัมต่อต้น ในทุกอัตรา โดยละลายสารเคมีในน้ำปริมาณ 50 ถึง 100 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
3. การใช้ความซื้น ภายหลังการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ควรรักษาดินให้ชุ่มชื้นเสมอตลอด 1 สัปดาห์ หลักจากนั้นควรให้น้ำเพิ่มขึ้นจนดินอิ่นตัว เรื่อยไปจนกระทั่งลำไยออกดอก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20-35 วัน
4. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรทำก่อนฤดูกาล ของการออกดอกตามปกติ คือ ไม่เกินเดือน พฤศจิกายน หรือหลังจากฤดูกาลปกติ ประมาณเดือน พฤษภาคม หรือ มิถุนายน

“วิธีการใช้สารโพแทศเซียมคลอเรตนี้ มิได้เป็นผลจากการทดลองอย่างเป็นทางการแต่เป็นการประมวลข้อมูลจากเกษตรกร และการเสวนาของผู้อยู่ในวงการลำไยในวาระต่างๆ”

โพแทสเซียมคลอเรตเนื้อสารสีชมพูคล้ายแป้ง
โพแทสเซียมคลอเรตเนื้อสารสีชมพูคล้ายแป้ง

ข้อดีข้อเสียของโพแทสเซียมคลอเรต

ข้อดี
1. โพแทสเซียมคลอเรตสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ภายใน 20-30 วัน หลังการราด
2. โพแทศเซียมคลอเรตยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผลตกค้างในดิน
ข้อเสีย
1. โพแทสเซียมคลอเรตเป็นวัตถุไวไฟ และวัตถุระเบิด จะระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูงกว่า 400๐ C ( 2 KCLO3 2KCL + 3O2)
2. โพแทสเซียมคลอเรตเป็นพิษกับสัตว์บางชนิดที่ชอบกินเกลือ เช่น วัว
3. โพแทสเซียมคลอเรตเป็นพิษต่อมนุษย์ คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ต่อระบบทางเดินอาหาร ไต และอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ ขนาดที่เป็นพิษจนถึงแก่ชีวิน คือ 5 กรัม
4. โพแทสเซียมคลอเรตที่วัตถุอันตราย มีพระราชบัญญัติควบคุมยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2530 ควบคุม โดยกระทรวงกลาโหมหาจจะนำเข้าหรือจำหน่วย จะต้องได้รับการอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม
ผลกระทบของโพแทสเซียมคลอเรตต่อสภาพแวดล้อม
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานยืนยันผลกระทบของโพแทสเซียมคลอเรตต่อสภาพแวดล้อมแต่สันนิฐานว่าผลตกค้างของโพแทสเซียมคลอเรตในดินอาจมีน้อย เนื่องจากสารดังกล่าว สามารถทำปฏิกริยากับคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบของอินทรีย์วัตถุได้ โดยเฉพาะดินที่มีอินทรีย์วัตถุและมีความเป็นกรดสูง ดังนั้น จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย ในระยะหลังการติดผลและหลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามควรมีการวิจัยทดลองยืนยันในเรื่องนี้ ต่อไป

สิ่งที่คล้ายกันของการใช้สารโซเดียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอเรต

1. ทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาลได้
2. ต้นลำไยที่จะใช้สารต้องมีความสมบูรณ์เต็มที่ อายุไม่ควรต่ำกว่า 5 ปี
3. จะต้องมีน้ำเพียงพอหลักการราดสารอย่างน้อย 15 วัน
4. เป็นสารอยู่ในกลุ่มคลอเรตเหมือนกัน
5. เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์
6. เป็นวัตถุอันตรายติดไฟได้ง่าย
7. ละลายได้ในน้ำ แอลกอฮอล์ และกลีเซอรอล
8. ยังไม่มีผลการวิจัยที่แน่นอน โดยเฉพาะในเรื่องผลตกค้างในดิน ผลผลิต และ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
โซเดียมคลอเรต และโพแทสเซียมคลอเรต

หัวข้อ โซเดียมคลอเรต  โพแทสเซียมคลอเรต หมายเหตุ
1.การออกดอกของลำไย ประมาณ15 วัน ประมาณ20-30 วัน มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ไต และอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
2. ความเป็นพิษต่อมนุษย์ 15-30กรัม/คน 5 กรัม/คน  
3. ข้อควรระวัง ติดไฟได้ดี ติดไฟได้ดีและเกิดระเบิดได้ จากข้อมูลของต่างประเทศระบุว่าสารนี้อาจจะมีผลตกค้างขึ้นอยู่
หากเสียดสีกับสารอินทรีย์ต่างๆ กับอัตราการใช้ความอุดมสมบูรณ์ของดินความชื้นในดินและ สภาพอากาศ
เช่นกำมะถันฟอสฟอรัส ฯลฯ
แต่ปริมาณของเกลือจุลดลงถ้าดินมีไนเตรตสูงดินมีสภาพเป็นด่าง และอุณหภูมิในดินสูง
 4. ข้อจำกัด อยู่ในความควบคุมของกรมวิชาการเกษตร พรบ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงกลาโหม  
5. ผลตกค้างในดิน   1/2 – 5 ปี ไม่มีรายงาน  

 

พิษของสารคลอเรตและการแก้พิษ

อาการพิษ

1. ทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ซีด เนื่องจากโลหิตจาก ถ้าเป็นมากทำให้ไตวายได้ มีอาการปัสสาวะไม่ออกและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้อาการที่มีเห็นเด่นชัดและสังเกตุได้ง่ายที่สุดคือมีอาเจียนและตัวเขียว
2. ขนาดที่เป็นพิษ หากได้รับสารคลอเรตเข้าสู่ร่างกายในปริมาณ 15-30 กรัม สำหรับ ผู้ใหญ่ และ 7 กรัม สำหรับเด็ก ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากสารนี้มาก่อน

การแก้พิษ

1. ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว โดยการล้วงคอหรือให้ยาช่วยอาเจียนให้กลืนผงถ่านเข้าไปเพื่อช่วยดูดซับสารคลอเรตในกระเพาะ ลดการดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือด
2. ให้ดื่มสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) ประมาณ 2-3 กรัม ที่ละลายใน โซเดียมไบคาร์บอเนต 5% จำนวน 200 ซีซี จะสามารถทำลายฤทธิ์ของคลอเรตได้ หรือทำการล้างสารออกจากเลือด โดยวิธี Belnodialysis (แพทย์เป็นผู้ทำ)
3. ให้ดื่มนมเพื่อลดการละคายเคืองต่อกระเพาะ
4. ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่น และอยู่นิ่งๆ จนอาการเขียวค่อยๆ ลดลง
5. หากอาการต่างๆ ค่อยๆ ลดลงภายใน 12 ชั่วโมงผู้ป่วยจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
6. หากได้สัมผัสสารละลาย ได้รีบล้างออกทันทีด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ

การปลูกและการดูแลรักษา การแปรูปลำไย พฤษกศาสตร์และนิเวศน์วิทยา มาตรฐานลำไยของประเทศไทย การผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม การตลาดลำไย ราคาและต้นทุนการผลิตลำไย กลยุทธ์การพัฒนาลำไย ประโยชน์ของลำไย สถานการณ์ผลิตลำไยจังหวัดเชียงใหม่ เอกสารอ้างอิง พันธุ์ลำไย ประวัติและถิ่นกำเนินของลำไย การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับลำไย

อ้างอิงเอกสารที่มา

https://www.oocities.org/tonginn/index.html

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา