ปัญหาเกี่ยวกับการทำสวนลำไย

Add Friend
ต้องการติดต่อเรากดปุ่ม Add Friends ข้างบนนี้เลยครับ Line ID. : tewinonline หรือโทรมาที่เบอร์นี้เลยครับ : 089-5599-056 เทวินการเกษตร
ซื่อสัตย์ ตรงเวลา รักษาคำพูด ขายสินค้าคุณภาพ

-อาการดอกลำไยแห้งเหี่ยวและร่วง

สาเหตุ

1.ขาดธาตุอาหารดอกไม่สมบูรณ์

2 . ความชื่นในอากาศน้อย ลำไยขาดน้ำ หรือให้น้ำไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงที่ลำไยออกดอกบานสะพรั่งหลังจากที่มีแมลงมาผสมเกสรเรียบร้อยแล้ว 3-5 วัน ถ้าความชื่นในอากาศน้อยหรือขาดน้ำ ดอกจะเหี่ยวและร่วงได้อากาศเปลี่ยแปลงแบบรุนแรง เช่นหนาว จัดร้อนจัด เช่น ต้นลำไยที่ได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตในเดือนตุลาคมและดอกบานช่วงเดือนธันวาคมซึ่งตรงกับช่วงอุณหภูมิต่ำจึงอาจมีผลต่อการงอกของละอรเกสรจึงทำการผสมไม่   ติดซึ่งส่งผลทำให้ลำไยติดผลน้อย

3. มีเพลี้ยไฟเข้าทำลาย การระบาดของ เชื้อราในระยะออกดอกและดอกบานมีผลทำให้ดอกลำไยร่วง

4. แมลงไม่เข้าผสมเกษร พอดอกหมดอายุก็จะเหี่ยวแห้งและร่วงไปตามอายุ

5. เกษตรกรใช้ ฮอร์โมน ปุ๋ยยา ฉีดพ่น เพื่อหวังให้บำรุงดอก กำจัดใบอ่อน ช่วยในการเปลี่ยนเพศดอกหรือยาฆ่าแมลงบางชนิด ผิดประเภท ( ไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติ ซึ่งแต่เริ่มเป็นดอกไม่ควรไปยุ่งกับดอกลำไย หากไม่มีความรู้เกี่ยวกับฮอร์โมน ปุ๋ยยาที่จะนำมาใช้จริงๆ )

6. ฝน ขณะที่ดอกบานหากมีฝนตกลงมาจะไปชะเอาน้ำเหนียวๆบนยอดเกสรตัวเมียออก ทำให้ละอองเกสรไม่สามารถเกาะติดในขณะที่มีการถ่ายละอองเกสร นอกจากนี้ในช่วงดอกบานถ้ามีฝนตกมาก ๆ ทำให้ดอกลำไยร่วงหล่นและยังทำให้การผสมเกสรลดลง

-ราดสารลำไยแล้วฝนตกบ่อยทำวิธีไหนดี

ราดสารฝนตกบ่อยๆมีหลายวิธีนะครับ ใช้วิธีนี้ก็ได้ผลดีครับผมเอาไปแนะนำให้กับสวนลูกค้าผมหลายสวนได้ผลมากว่า 80 % ทุกสวน

เริ่มหลังจากราดสารราดลำไยไปได้ 5 – 7 วัน ให้ผสมสารราดลำไย ( โพแทสเซียมคลอเรต เน้นเปอร์เซนต์คลอเรตสูงๆนะ อย่างกิโลกรัมละ 20 บาท 30 บาทไม่เอานะ ถ้าหาไม่ได้จริงๆหรือไม่แน่ใจว่าเป็นคลอเรตเข้มข้นจริงให้ใช้สารพ่นทางใบของ The Sun new + ปุ๋ย 0-52-34 ครึ่งกิโลกรัม+น้ำ 200 ลิตรก็ได้ ) + ปุ๋ย 0-52-34  อย่างละ 5 ขีด พ่นทางใบทุก 5 – 7 วันติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้ 0-52-34 พ่นอย่างเดียวจนเห็นจุดไข่ปลาบริเวณยอดอ่อน จึงจะผสมแคลเซียมโบรอนลงไปด้วยเพื่อช่วยในการกระตุ้นการสร้างดอก

-ราดสารลำไยแล้วใบแรงเกิดจากอะไร 

มีลูกค้าถามมาหลายเจ้า ก็พอดีไปอ่านเจอในเพจของหนุ่มดอยเต่า เห็นว่ามีประโยชน์เลยคัดลอกมาให้อ่าน ( ลอกเขามา )

  1. ต้นไม่สมบูรณ์หรือมีอาหารสะสมน้อยซึ่งพืชจะสร้างใบเพื่อสร้างอาหารให้ตัวเองอยู่รอดมากกว่าที่จะออกดอกออกผล
  2. ภาวะไนเตรทในดินสูง
  3. ต้นติดกันหรือโดนบังแสงซึ่งจะแข่งกันโตมากกว่าออกลูก
  4. สภาพที่มีแสงสว่างน้อย(ฟ้าปิด)
  5. ใช้ปุ๋ยที่มี N สูงในช่วงออกดอก
  6. การตัดแต่งกิ่งใบที่ทำให้ใบเหลือน้อย(สังเกตว่าถ้าตัดแต่งกิ่งใบออกมากๆหรือทำสาวลำไยจะแตกใบอ่อนไม่ค่อยออกดอก)
  7. สภาพที่ดินมีความชื้นสูงจากจากที่ฝนตกหรือการคลุมโคนต้น

เพิ่มเติมนะครับ

  • การชักนำการออกดอกของลำไยจะให้ออกดอกต้องเข้าใจหลายๆอย่าง เริ่มจาก
  1. การเตรียมต้นลำไยให้พร้อมโดยการตัดแต่งกิ่งลำไย ตัดเอากิ่งหรือใบเก่าออกเนื่องจากใบเก่าหลังจากการติดดอกออกผลไปแล้วแทบจะไม่มีประโยชน์เลยเราต้องตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ใบใหม่ออกมาทดแทนใบเก่า เพื่อที่เราจะได้ดูแลใบใหม่ให้สมบูรณ์ไม่เป็นโรค (ต้องดูแลใบใหม่อย่างดี ให้สมบูรณ์ โครงสร้างใหญ่ ใบใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม ) เตรียมต้นให้สมบูรณ์ และต้องแตกใบอ่อนอย่างน้อยสักสองรอบ
  2. การใช้สารลำไย ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม มากเกินไปไม่ดี น้อยเกินไปออกไม่เต็มที่ ( ศึกษาข้มูลได้ที่ วิธีใส่สารลำไย ) และที่สำคัญเวลาซื้อสารลำไยต้องเช็คให้ดีๆว่าแท้หรือผสม ถ้าสารผสมถึงต้องใส่ปริมาณมากๆ ( สอบถามจากร้านค้าก่อน…เขาคงจะบอกว่าเขาขายของผสม )
  3. ก่อน – หลังจากราดสารลำไยต้องเข้าใจเกี่ยวกับ ค่า C/N ratio

( เนื้อหาเรื่อง ” ซีเอ็นเรโซ ” ผมคัดลอกมาจาก https://www.thaigreenagro.com/ )

เรียนรู้ “ซีเอ็นเรโช” ( คาร์บอน : ไนโตรเจน , C : N ratio ) เพื่อกำหนดการออกดอกติดผลของพืช

มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่าซีเอ็นเรโชคืออะไร วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็นเรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ

ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี  ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน  ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน เรียกว่า ซีเอ็นเรโชแคบ  ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า  เรียกว่า  ซีเอ็นเรโชกว้าง เช่น 15: 1 คือคาร์บอน  15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช  ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม

ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็นเรโชแคบ คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันไม่มาก  ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี  หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่  ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน,  แอมโมเนีย,  ยูเรียหรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที  ในขณะที่คาร์บอนหรือคาร์โบฮัยเดรทในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่าซีเอ็นเรโชแคบอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบคือแตกยอดและใบอ่อนง่าย  ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง  ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากซีเอ็นเรโชแคบอย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย

ซีเอ็นเรโชกว้าง  คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า  ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว  โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ  โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า  แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว  ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก  งดการให้น้ำ  น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย  และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย  แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด  ซีเอ็นเรโชจึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ  ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก  ซีเอ็นเรโชกว้างทำให้พืชออกดอกได้ง่าย  ผลอ่อนร่วงน้อย  โตเร็ว  ผลแก่มีคุณภาพดี  

-ปัญหาเกี่ยวกับสารโพแทสเซียมคลอเรตตกค้างในดิน

เป็นปัญหาที่ชาวสวนลำไยหลายคนมองข้าม การค้นพบว่าสารคลอเรตสามารถกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ เป็นประโยชน์แก่ชาวสวนลำไยอย่างมากในระยะสั้นแน่นอน แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าถ้ามีการใช้สารคลอเรตในสวนลำไย อย่างกว้างขวางและในระยะยาวแล้วจะมีผลกระทบต่อต้นลำไย ต่อดินจุลินทรีย์ดิน และจะมีการปนเปื้อนของคลอเรตในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน และในผลลำไยหรือไม่ อย่างไร แต่ผลกระทบที่เห็นได้ในปัจจุบันคือการให้สารทางดินนอกจากมีผลทำให้รากถูกทำลาย แล้วยังส่งผลต่อจุลินทรีย์ในดิน ในจุดที่ให้สารบางส่วนตายไส้เดือนจะพยายามหนีออกจากแนวที่ราดคลอเรตและบริเวณใกล้เคียง เป็นผลต่อเนื่องทำให้ความสมบูรณ์และสภาพของดินเปลี่ยนไป เป็นผลโดยตรงทำให้ต้นลำไยโทรมไม่สมบูรณ์  ติดผลน้อย ลูกลำไยมีขนาดเล็ก

การสลายสารโพแทสเซียมคลอเรตตกค้างในดิน

จุลินทรีย์ดินมีส่วนในการสลายตัวของคลอเรต

  • คลอเรตสลายตัวได้มากน้อยต่างกันอย่างมากระหว่างดินชนิดต่าง คลอเรตสลายตัวได้เร็วในดินที่มีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม คลอเรตสลายตัวได้เร็วในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง การสลายตัวของคลอเรตทั้งหมดในดิน เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินล้วน ๆ ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจุลินทรีย์จะมีกิจกรรมมาก คลอเรตจึงสลายตัวได้เร็ว
  • น้ำคลอเรตเคลื่อนที่ในดินไปกับน้ำได้ดีเมื่อให้น้ำมากคลอเรตก็เคลื่อนที่ลึกลง ไม่ใช่เป็นเพียงทำให้คลอเรตกระจายเฉลี่ยไปในชั้นดินเท่านั้น แต่ยังทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้นด้วย

อ้างอิง : แหล่งที่มา : ประชาคมวิจัย    ฉบับที่ : 38    หน้าที่ : 14   

การศึกษาการเร่งสลายคลอเรต
เมื่อการใส่คลอเรตให้ผลที่ต้องการคือทำให้ลำไยออกดอกแล้ว โดยปกติภายใน 1 เดือน ก็น่าจะกระตุ้นให้คลอเรตที่เหลือตกค้างอยู่ในดินสลายตัวหมดไปจากดินโดยเร็ว จึงได้ทดลองหาวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น เช่น น้ำกากส่า ซึ่งมีน้ำตาลปนอยู่จำนวนหนึ่ง และปุ๋ยอินทรีย์เหลว (ที่นิยมเรียกกันว่าน้ำสกัดชีวภาพ) และตัวจุลินทรีย์เอง (ที่ถูกอ้างว่ามีประสิทธิภาพ) ตลอดจนปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) โดยตรงมาผสมกับดินที่ใส่คลอเรต ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการซ้ำ 2 ครั้ง พบว่ามีแต่น้ำกากส่าเท่านั้นที่ทำให้คลอเรตสลายตัวได้เร็วขึ้น ขณะนี้กำลังดำเนินการศึกษาในสนาม

จากผลการวิจัยสู่การปฏิบัติ
แม้จะยังไม่ถึงเวลาสรุปผลกระทบของการใช้สารคลอเรตในสวนลำไยต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่โดยสามัญสำนึกทั่วไปน่าจะกล่าวได้ว่า จะต้องมีการจัดการต่าง ๆ เพื่อให้คลอเรตมีผลตกค้างเหลืออยู่ในดินน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและต้นลำไยน้อยที่สุดด้วย มาตรการที่ขอเสนอเพื่อให้มีผลตกค้างของคลอเรตอยู่ในดินน้อยที่สุด ได้แก่

  1. การใส่คลอเรตในปริมาณที่เหมาะสมกับชนิดดิน คำแนะนำการใส่คลอเรตที่มีอยู่ในปัจจุบันยังเป็นคำแนะนำทั่วไป แต่ผลการวิจัยในข้อที่ 2 พบว่าคลอเรตสลายตัวในดินแต่ละชนิดได้เร็วช้าต่างกัน ประกอบกับมีรายงานในต่างประเทศว่าความเป็นพิษของโซเดียมคลอเรตต่อพืชนั้นขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ดังนั้นปริมาณคลอเรตที่พอเหมาะเพื่อกระตุ้นการออกดอกของลำไยที่ปลูกในดินต่างชนิดจึงน่าจะต่างกัน ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยในหัวข้อนี้ จึงน่าจะมีการสนับสนุนให้มีการใช้คลอเรตที่เหมาะสมกับดินแต่ละชนิดต่อไป
  2. ผลการวิจัยข้อ 4 ที่ว่า “การให้น้ำมากซึ่งทำให้คลอเรตเคลื่อนที่ได้ลึกมากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงทำให้คลอเรตกระจายเฉลี่ยไปในชั้นดินเท่านั้น แต่ยังทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้นด้วย” ดังนั้นเมื่อลำไยออกดอกแล้วในหน้าแล้ง จึงน่าจะให้น้ำมาก ๆ พอให้ดินเปียกลึก ถึง 30-40 ซม. สัก 2 ครั้ง แทนที่การให้น้ำเพียงให้ดินเปียกลึก 15-25 ซม. ตามที่เกษตรกรทั่วไปทำกันอยู่ ก็จะทำให้คลอเรตสลายตัวไปได้มากขึ้น การให้น้ำมากนี้จะต้องให้ระยะเวลาห่างกัน พอให้ดินแห้งก่อนจะให้น้ำอีกครั้ง มิฉะนั้นจะทำให้มีน้ำแฉะในดินติดต่อกันนานเกินไป จนทำให้ต้นลำไยตายได้
  3. อีกแนวทางหนึ่งที่น่าจะทำเพื่อเร่งให้คลอเรตสลายตัวได้เร็วคือการบำรุงให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง จากผลการวิจัยข้อ 3 ที่ว่า “การสลายตัวของคลอเรตในดินเกิดจากกิจกรรมของ จุลินทรีย์ดินล้วน ๆ คลอเรตจึงสลายตัวได้เร็วในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง”
    จากผลการวิจัยข้อ 2 ที่ว่า “การใส่โซเดียมคลอเรตทำให้คลอเรตสลายตัวช้ากว่าการใส่โพแทสเซียมคลอเรต” ทำให้มีอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการลดผลกระทบของการใช้สารคลอเรต คือควรใช้โพแทสเซียมคลอเรตแทนโซเดียมคลอเรต

กลไกการกระตุ้นให้ลำไยออกดอกยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่มีการวิจัย และตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ คือ

  1. เมื่ออนุมูลคลอเรตจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสกลายเป็นประจุลบของ ClO2 ทำให้เอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสไม่สามารถทำงานได้จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบให้ชะงักลง ทำให้ต้นลำไยกระตุ้นการสร้างดอกขึ้นมาทดแทน
  2. เมื่อต้นมีการหยุดชะงักของการเจริญเติบโตทางใบจากผลของ ประจุลบ ClO2 จาการใส่โพแทสเซียมคลอเรตทำให้อัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ในลำต้นมีอัตราเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ต้นลำไยเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอกแทน

-สนใจสารราดลำไยหรือสูตรการราดสารลำไยและสูตรการพ่นสารลำไยทางใบ กรุณาติดต่อ เทวินการเกษตร 089-5599056 บริการส่งทั่วประเทศ หรือ คลิกกดที่นี่…..

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา