วิธีใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตและสารพ่นลำไย

สินค้าของเรา

Add Friend
ต้องการติดต่อเรากดปุ่ม Add Friends ข้างบนนี้เลยครับ Line ID. : tewinonline หรือโทรมาที่เบอร์นี้เลยครับ : 089-5599-056 เทวินการเกษตร
ซื่อสัตย์ ตรงเวลา รักษาคำพูด ขายสินค้าคุณภาพ

วิธีการใส่สารโพแทสเซียมคลอเรต-สารใส่ลำไย-สารพ่นลำไย

วางแผนการผลิตช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวลำไยนอกฤดูที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรต

เดือนที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
เดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต
ต้นกุมภาพันธ
กลางกันยายน
ต้นมีนาคม
ต้นตุลาคม
ปลายเมษายน
ต้นพฤศจิกายน
ต้นพฤษภาคม
กลางพฤศจิกายน
ต้นมิถุนายน
กลางธันวาคม
ต้นกรกฎาคม
ต้นกุมภาพันธ
ต้นสิงหาคม
กลางมีนาคม
ต้นกันยายน
กลางเมษายน
ต้นตุลาคม
กลางพฤษภาคม
ต้นพฤศจิกายน
ต้นมิถุนายน

 

วิธีการใส่สารใส่ลำไยสารโพแทสเซียมหรือสารราดลำไย ที่ได้ผลมากกว่า 90 % โดยเงื่อนไขที่ว่าต้นลำไยของท่านต้องพร้อมสมบูรณ์  คำว่า “พร้อมสมบูรณ์” หมายความว่า ต้องตัดแต่งกิ่งเอาใบเก่าทิ้งไปเพราะใบเก่าใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว ทำใบใหม่ให้แตกใบอ่อนอย่างน้อยสองรอบ สามรอบยิ่งดี โรคไม่มี แมลงไม่กัดกิน ใบออกมาสวย โครงสร้างใหญ่ใบหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม โดยมีขั้นตอนพื้นฐานดังนี้

1.ตัดแต่งกิ่งลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย

การตัดแต่งกิ่งลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยเตรียมการราดสารลำไย หลังการเก็บเกี่ยวต้องตัดแต่งกิ่งลำไยเพื่อควบคุมทรงพุ่มของลำไยโดยการตัด แต่งกิ่งลำไยมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น

การตกแต่งกิ่งแบบฝาชีหงายก่อนการราดสารลำไย
การตกแต่งกิ่งแบบฝาชีหงาย

– ทรงฝาชีหงาย โดยตัดกิ่งกระโดงเก่าให้เหลือตอไว้ หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ ลำไยก็จะเริ่มแตกใบใหม่ ปล่อยให้ลำไยแตกใบประมาณ 2-3 ชุด ก็สามารถบังคับให้ลำไยออกดอกโดยการใช้สารโพแทสเซี่ยมคลอเรต หรือสารใส่ลำไยได้ในระยะต่อไป ดังรูป ข้างบน

การตัดแต่งกิ่งแบบทรงเปิดกลางพุ่มก่อนการราดสารราดลำไย
การตัดแต่งกิ่งแบบทรงเปิดกลางพุ่ม

– ทรงเปิดกลางพุ่ม เป็นการตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก ๒-๓ กิ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถตัดอกตัดใจที่จะแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายได้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตัดแต่งกิ่ง…..กดที่นี่

หรือ >>>>กดที่นี่

การให้ปุ๋ยลำไยช่วงแตกใบอ่อน

หลัง จากเกษตรกรชาวสวนลำไยได้ตัดแต่งกิ่งไปแลัว  ไม่ว่าจะรูปทรงเปิดกลางทรงพุ่ม ทรงสี่เหลี่ยม  หรือทรงฝาชีหงาย  ลำไยของท่านก็คงจะเริ่มแตกใบ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับลำไยอันดับต้นๆก่อนการใช้สารลำไยหรือสารใส่ลำไย  การแตกใบอ่อนของลำไยแต่ละครั้งเหมือนกับคนเริ่มทำงานหนัก ต้องการอาหารและน้ำมาก  ลำไยก็เช่นเดียวกัน  ขบวนการหรือกิจกรรมแต่ละครั้งไม่ว่าจะแตกใบอ่อน  แทงช่อดอก  หรือติดผล  ก็ย่อมต้องการอาหารและน้ำมากกว่าปกติ  จากการวิจัยของ  ผศ. ยุทธนา  เขาสุเมารุ  และคณะ  พบว่าธาตุอาหารที่ลำไยต้องการมากในช่วงนี้คือ  ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม  ดังนั้น  สูตรปุ๋ยที่จะต้องให้ทั้งสองธาตุดังกล่าว  เพื่อให้ง่ายต่อการประมาณและง่ายต่อการปฏิบัติ  จึงได้กำหนดสูตรปุ๋ยที่เกษตรกรชาวสวนลำไยใช้กันโดยทั่วไปคือสูตร  46-0-0  ,  15-15-15  และ  0-0-60  ผสมกันและต้องใช้ให้หมด  ในการให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง  ผสมแล้วเก็บไว้ไม่ได้ ปุ๋ยจะละลาย  และเพื่อลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยสูตรสำเร็จ  ส่วนอัตราการให้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม  ดังแสดงให้ในตาราง  โดยให้ทุกครั้งที่มีการแตกใบอ่อน ส่วนปุ๋ยอินทรีย์  เช่น  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ควรใส่ในช่วงหลังจากเก็บผลผลิต  โดยใส่ก่อนหน้านี้แล้ว  อัตราประมาณ  10-30 กิโลกรัมต่อต้น

 ตารางแสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้ลำไยในแต่ละครั้งหลังแตกใบอ่อน ( กรัมต่อต้น )

 100 กรัมเท่ากับ 1 ขีด หรือ 1000 กรัมเท่า 1 กิโลกรัม

หมายเหตุ เกษตรกรจะต้องไปหาซื้อปุ๋ยสูตร  15-15-15  (สูตรเสมอ)  ปุ๋ยยูเรีย  46-0-0  และปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต  0-0-60  โดยนำมาผสมให้ลำไยแต่ละครั้งหลังการแตกใบอ่อน  หรือจะแบ่งใส่ หลาย ๆ ครั้งก็ยิ่งดี  คือ  ใส่ในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง  อย่าลืมใส่ปุ๋ยแล้วให้น้ำตามทันที  น้ำจะช่วยให้ปุ๋ยละลาย  พืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้  หลังจากให้ปุ๋ยลำไยแล้ว  ต้องหมั่นตรวจ  หรือสำรวจโรคและแมลงด้วย

โรคและแมลงช่วงลำไยแตกใบอ่อน

จากการวิจัยของ  รศ.ดรจริยา  วิสิทธ์พานิช  และคณะ  พบว่าแมลงศัตรูลำไยระยะใบอ่อนที่ระบาดเป็นประจำในช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อนคือ  หนอนคืบลำไย  หนองคืบเขียวกินใบ  แมลงค่อมทอง  แมลงนูน  และอาการโรคพุ่มไม้กวาด

1.1 กลุ่มหนอนกัดกินใบเช่น หนอนคืบ  หนอนมังกร  ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนหมดทั้งต้นได้ภายใน  2-3  วัน

หนอนคืบ
หนอนคืบตัวหนอนกัดกินช่อดอกลำไย
หนอนคืบกินใบลำไย
หนอนคืบกินใบลำไย

การป้องกันกำจัดหนอนกัดกินใบอ่อน
– ในระยะที่ลำไยแตกใบอ่อน  และมีการระบาดของหนอนให้ฉีดพ่นด้วย แลมป์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5% EC) อัตรา 12 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร  หรือ เฟนวารีเลต    (ซูมิไซดิน 20% EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 40% EC) อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร  หรือบาซิลัส ทูริงเยนซิส (แบคโทสปีน เอฟซี) 120 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรใช้สารเคมีฆ่าแมลงสลับกลุ่มกันไป
–  กำจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่หลบอาศัยของผีเสื้อ

1.2 กลุ่มด้วงปีกแข็ง  เช่น  แมลงค่อมทอง  ด้วงกุหลาบ  และแมลงนูน ทำลายโดยกัดกินใบลำไย  ความเสียหายรุนแรงในต้นที่ปลุกใหม่ทำให้ลำไยชะงักการเจริญเติบโตได้

แมลงค่อมทอง
แมลงค่อมทองทำลายกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย

การป้องกันกำจัด
บริเวณที่พบแมลงค่อมทองและด้วงกิน ใบระบาดเป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยอะซีเฟต 75%SP (ออร์ธีน 75 เอสพี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วย คาร์บาริล (เซฟวิน 85%WP) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง

1.3 อาการหงิกเป็นพุ่มไม้กวาด
ไร ลำไย  เป็นตัวการทำให้ช่อใบที่แตกออกใหม่  เกิดอาการม้วนหงิกเป็นพุ่มไม้กวาด  จะพบระบาดมากในลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว  และจะพบได้โดยทั่วไปทุกพื้นที่  และทุกพันธุ์  โดยเฉพาะลำไยที่ขาดการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึง  ไรลำไยมีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

การป้องกันกำจัด

1.  คัดกิ่งพันธุ์โดยใช้กิ่งตอนจากต้นที่ไม่มีอาการหงิกเป็นพุ่มไม้กวาดมาปลูก
2.  ต้นที่เริ่มเป็นหรือมีอาการพุ่มไม้กวาดไม่มากนัก ตัดช่อที่แสดงอาการหงิกไปฝัง หรือเผาไฟ เพื่อกำจัดไรที่อาศัยอยู่ในช่อ  การตัดช่อหงิกทำได้สะดวกขณะที่ต้นลำไยยังอายุไม่มากนัก (ไม่เกิน 5 ปี) การตัดช่อทิ้งเพียงอย่างเดียวลดอาการม้วนหงิกได้ 70  %1
3.    ต้นที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ขึ้นไปการตัดช่อทิ้งปฏิบัติได้ยาก  การใช้สารกำจัดไร เช่นผงกำมะถัน (ไมโครไทออล สเปเซียล) 80% WP อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  อามีทราซ   หรือโบรโมโพรไพเรต สามารถกำจัดไรได้ดี  อย่างไรก็ตามยังพบอาการม้วนหงิกประมาณ 30-70 เปอร์เซ็นต์

อ้างอิงบทความจาก  ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้และสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร          มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโรคและแมลง….กดที่นี่

2.การใช้สารราดลำไยทางดินและสารพ่นทางใบลำไย ( ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อสารราดลำไยได้ที่นี่…กดคลิิกเลย )

หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วให้ลำไยแตกใบอ่อนประมาณ 2 ชุดเป็นอย่างน้อย แล้วก็จะเริ่มใส่ลำไยสารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไย โดยวิธีการดังนี้

ก่อนจะทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรตควรเข้าไปศึกษาข้อมูลจากที่นี่….คลิกกดที่นี่

-ให้วัดความกว้างของทรงพุ่มลำไยตามรูป

วัดทรงพุ่มก่อนการราดสาร
วิธีวัดความกว้างของทรงพุ่มลำไยโดประมาณ

วัดได้เท่าไหร่ ให้ใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไย ในอัตราส่วน ความกว้างทรงพุ่มของต้นลำไย 1 เมตรต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารใส่ลำไยประมาณ 3 ขีด เช่น สมมุติว่าวัดความกว้างของทรงพุ่มลำไยได้ 3 เมตรก็ให้ใส่สารโพแทสเซียมคลอเรต 9 ขีดต่อต้น เป็นต้น หลังจากคำนวณได้ปริมาณสารลำไยแล้วก็นำไปโรยสารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไยตามรูป

บริเวณที่ควรราดสารราดลำไย
บริเวณที่ราดสารราดลำไย เร่งการออกดอกลำไย

แล้ว ให้น้ำตามทันที่เพื่อละลายสารลำไย  และรักษาความชื่นโดยให้น้ำทุก 2-5 วัน เพื่อให้ต้นลำไยดูดซับสารลำไยเข้าสู่ต้นให้มากที่สุด

หลังจากใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารราดลำไยได้ประมาณ 5-7 วัน ก็ให้ใช้สารพ่นทางใบตามอัตราส่วนของแต่ละยี่ห้อที่กำหนด หรือจะใช้สารพ่นทางใบของ The Sun new ในอัตราส่วน 1 ชุด ( 1 ชุดมี 2 ถุงรวมกันเท่ากับ1.40 กิโลกรัม ) ผสมน้ำ 200 ลิตรพ่นทางใบจนเปียกชุ่มทั้งทรงพุ่มของลำไย ( หลังจากนั้น  ประมาณ  3-5  อาทิตย์  ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก )

-หลังจากการรู้สูตรการารดสารลำไยและสูตรการพ่นทางใบแล้วเราสามารถศึกษาวิธีการดูแลรักษาลำไยช่วงออกดอก ได้ ที่นี่….คลิกกด

-สนใจสารราดลำไยหรือสูตรการราดสารลำไยและสูตรการพ่นสารลำไยทางใบ กรุณาติดต่อ เทวินการเกษตร 089-5599056 บริการส่งทั่วประเทศ หรือ คลิกกดที่นี่…..

 

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย