การป้องกันและกำจัด

Add Friend
ต้องการติดต่อเรากดปุ่ม Add Friends ข้างบนนี้เลยครับ Line ID. : tewinonline หรือโทรมาที่เบอร์นี้เลยครับ : 089-5599-056 เทวินการเกษตร
ซื่อสัตย์ ตรงเวลา รักษาคำพูด ขายสินค้าคุณภาพ

การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงของลำไย

1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์ลำไยจากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
2. ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมีเช่น ฟอสซ์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มิพซิน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือลอร์สแมน อัตรา 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. สำหรับต้นลำไยที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งลำไยที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายซึ่งชาวสวนลำไยจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุกๆ สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด

โรคหงอย
ลักษณะอาการ
การเจริญเติบโตทางกิ่งน้อย ใบเล็ก และคดงอมองไกลๆ คล้ายใบลิ้นจี่ลำต้นซีดลง เมื่อตัดกิ่งของลำไยที่เป็นโรคนี้มาตรวจจะพบว่าไส้กลางเป็นสีน้ำตาล ชาวบ้านมักเรียกว่า โรคไส้ดำโรคนี้เป็นกับต้นลำไยที่ออกดอกติดผลดี บางสวนเป็น ทั้งลำไยต้นเล็กและลำไยต้นใหญ่

สาเหตุของโรค
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

โรคจุดสาหร่ายสนิม

โรคจุดสาหร่ายสนิม
โรคจุดสาหร่ายสนิม

ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบลำไย เกิดจุดค่อนข้างกลม มีขนาด 0.5 – 1 ซม. แรกๆ เป็นขุยสีเขียวต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดงสีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ เป็นที่ใบลำไยไม่รุนแรงมากนัก แต่ความรุนแรงจะปรากฎที่กิ่งลำไยโดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทำให้ต้นลำไยทรุดโทรม กิ่งลำไยที่ถูกแสงจะถูกทำลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับใบลำไย จะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่องเป็นขุยสนิมเหล็ก ต่อมาขุยก็จะแห้งหายไป จุดที่ถูกทำลายเปลือกจะแตกและแห้งทำให้ใบลำไยเหลืองร่วง แสดงอาการทรุดโทรม ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไปชอนไชในเนื้อเยื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทำให้ส่วนนั้นแห้งตายไป

การแพร่ระบาด
ทำลายพืชได้หลายชนิด ระบาดในที่ๆ มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในฤดูฝน แพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิว ไปตามลมนอกจากนี้ น้ำก็เป็นพาหะนำสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันและกำจัด
โดยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบของทองแดง เช่น ค๊อปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคราสีชมพู

โรคราสีชมพู
โรคราสีชมพู

ลักษณะอาการ
อาการที่เกิดที่กิ่งลำไยโดยเฉพาะตรงง่ามของกิ่งลำไยหรือลำต้น กิ่งที่เป็นโรคใบจะปรากฎสีเหลืองซีดและเมื่อโรครุนแรงอาจทำให้ใบลำไยร่วงเหลือแต่กิ่งลำไย บริเวณกิ่งที่ถูกทำลายจะมีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่ขยายปกคลุมคล้ายทาด้วยสีชมพู เมื่อกิ่งแห้งจะเห็นคราบนี้ชัดขึ้นเป็นสีชมพูหรือสีปูนแห้ง เมื่อผ่าตรวจดูเปลือกจะผุ เนื้อไม้ยุ่ยและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะเกิดคล้ายรากเทียมที่ใต้ผิวแผ่นเชื้อรา ที่แนบติดกับผิวของกิ่งเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงและทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนสปอร์ของเชื้อราระบาดไปกับลมและน้ำฝน โดยเฉพาะกิ่งล่างมักจะถูกเชื้อรานี้เข้าทำลายเกิดเป็นโรคอยู่ทั่วไป ทรงพุ่มที่หนาทึบ ย่อมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้มากและเร็วขึ้น

การป้องกันและกำจัด
ควรตัดแต่งกิ่งลำไยเป็นโรคออกไปเผา เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคและให้มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น แล้วพ่นด้วยสารเคมีตรงส่วนที่เป็นโรคด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเอดิเฟนฟอส 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

มวนลำไย

มวนลำไย
มวนลำไย

มวนลำไย หรือที่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก “แมงแกง” มีชื่อทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำความ เสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก มีการระบาดอยู่ ประจำในแหล่งปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนโดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำปิง

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 – 31 ซม. และส่วนกว้างประมาณ 15 – 17 ซม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7 – 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 – 74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบได้แก่ แตนเบียนไข่ Ooencyrtus sp. และ Anastatus sp. ซึ่งจะคอยเป็นตัวทำลายไข่ ของมวนลำไยในธรรมชาติ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งลำไยไม่ให้ต้นหนาจนเกินไป จนเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของตัวเต็มวัย
2. จับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลาย
3. ถ้าพบระบาดมากใช้ยาฆ่าแมลงพวก โมโนโครโตฟอส ฉีดพ่นในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือยาฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ช่วงเวลาที่ลำไยกำลังเกิดช่อดอกและติดผล ซึ่งช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริลจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลง เป็นตัวอ่อนในวัย 1 – 2 เท่านั้น ถ้าพ่นในวัยอื่นจะไม่ได้ผล

โรคราดำ

โรคราดำ
โรคราดำ

การทำลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แล้วถ่าย น้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวาน

ลักษณะอาการ
สีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบลำไยที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทำลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบ

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทำลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลำไย แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจริญเป็นคราบสีดำ แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น

การป้องกันและกำจัด
ป้องกันและกำจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นสารเคมีเช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อาจพ่น ควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ ไซฟลูธริน 40 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนม้วนใบ

หนอนม้วนใบ
หนอนม้วนใบ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Archips micaceana Walker.หนอนจะกัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายใน ถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเสียหาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง หลังจากผสมพันธุ์ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ คล้ายเกล็ดปลา มีสีเหลืองอ่อน กลุ่มหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 70 – 200 ฟอง ระยะไข่ 5 – 9 วัน หนอนมีสีเหลืองปนเขียว หัวสีน้ำตาลแดง มีตุ่มตามลำตัวแต่ละตุ่มจะมีขนเล็กสีขาว 1 – 2 เส้น เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.3 – 1.5 ซม. ระยะหนอน 14 – 48 วัน แล้วเข้าดักแด้ในใบที่ม้วนนั้นเป็นดักแด้อยู่นาน 5 – 7 วัน ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจตามยอดอ่อนและช่อดอก ถ้าพบให้เก็บทำลาย
2. ถ้าระบาดรุนแรงมากควรฉีดพ่นด้วยยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยไพรีทรอยด์ อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย)

หนอนคืบ
หนอนคืบตัวหนอนกัดกินช่อดอกลำไย
หนอนคืบกินใบลำไย
หนอนคืบกินใบลำไย

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr.
หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต

ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3 – 4 ซม. ระยะตัวหนอน 9 – 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด
1. เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่
2. เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ
3. เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30 – 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงค่อมทอง

แมลงค่อมทองกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย
แมลงค่อมทองกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย
แมลงค่อมทองในสวนลำไย
แมลงค่อมทองในสวนลำไย

รูปร่างและชีวประวัติ
เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเวลาถูกตัวหรือได้รับความกระเทือนจะทิ้งตัวลง ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดินเมื่อฟักและเจริญเป็นตัวหนอนจะอาศัยกินราก พืชอยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่กินเวลา 10 – 11 วัน ระยะหนอนอยู่ในดินนาน 5 – 6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ 14 – 15 วัน

การป้องกันกำจัด
1. เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย
2. ใช้ยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30 – 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10 – 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ถ้ามีการระบาดมากใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 – 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผีเสื้อมวนหวาน

ผีเสื้อมวนหวาน
ผีเสื้อมวนหวาน

ทางภาคเหนือเรียกว่า “กำเบ้อแดง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Othreis fullonica พบระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปาก (proboscis) เจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด สำหรับลำไยเมื่อถูกผีเสื้อมวนหวานดูดกินแล้วจะร่วงภายใน 3 – 4 วัน ผลที่ร่วงเมื่อบีบดูจะมีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ และเมื่อแกะผลดูจะพบว่าเนื้อในของลำไยจะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย แมลงชนิดนี้ออกหากินในเวลากลางคืน ระยะเวลาที่พบผีเสื้อมากที่สุดคือ 20.00 – 24.00 น.

หนอนกินดอกลำไย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eublemma versicolora ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไยโดย ใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอกลำไย ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงนั่น ซึ่งใช้เป็นที่สังเกตได้ง่าย หนอนจะทำลายดอกลำไยจนหมด

รูปร่างและชีวประวัติ
ลักษณะตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนหัวสีดำ ขนาดยาว 1.5 – 2.0 ซม. ตัวอ้วนใหญ่ ระยะตัวอ่อน 14 – 16 วัน ระยะเข้าดักแด้ 6 – 8 วัน ขนาดตัวและกางปีกแล้วประมาณ 2 – 3 ซม. ปีกสีน้ำตาลปนเทา ทั้งปีกคู่หน้าและคู่หลังมีทางสีน้ำตาลเข้มพาดยาวๆ จนถึงกลางปีก107

การป้องกันกำจัด
1. จับทำลายตัวหนอนที่พบตามช่อดอกเสีย
2. ถ้ามีระบาดมากควรใช้ยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังไม่บาน

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น

กิ่งและลำต้นถูกหนอนเจาะ
กิ่งและลำต้นถูกหนอนเจาะ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten.เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 – 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 – 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten. เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 – 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 – 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย
เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

แมลงจำพวกนี้ทำความเสียหายให้กับต้นลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ทั้งเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำ เมื่อราดำเกิดขึ้นที่ผลจะทำให้ผลดูสกปรก ราคาผลผลิตจะต่ำ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนของพืชที่มีเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ไปเผาไฟเสีย
2. เมื่อพบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ควรพ่นด้วยมาลาไธออน อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพรีทรอยด์ อัตราส่วนตามฉลาก พ่นให้ทั่ว 2 – 3 ครั้งห่างกัน 10 วัน

 

-สามารถศึกษาขั้นตอนการทำสวนลำไย ได้ ที่นี่….คลิกกด

-สนใจสารราดลำไยหรือสูตรการราดสารลำไยและสูตรการพ่นสารลำไยทางใบ กรุณาติดต่อ เทวินการเกษตร 089-5599056 บริการส่งทั่วประเทศ หรือ คลิกกดที่นี่…..

 

เอกสารอ้างอิง
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
13 ถนนอารักษ์ ซอย 5 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เทคนิคการทำสวนลำไยและการราดสารลำไย

สินค้าของเรา